การปลูกไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิสและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::



การปลูกไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส(Eucalyptus camaldulensis Dehn.)

การเตรียมพื้นที่ปลูก

การเตรียมพื้นที่ปลูกเป็นขั้นตอนหนึ่ง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยูคาลิปตัส การจะจัดเตรียมพื้นที่ปลูกอย่างไรขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ สภาพดินซึ่งจะต้องพิจารณาในแต่ละพื้นที่ดังต่อไปนี้

1. ในสภาพพื้นที่ที่แห้งแล้ง เช่น เป็นดินลูกรัง พื้นที่ประเภทนี้จะมีไม้แคระแกรน ขึ้นกระจัดกระจายทั่วไป ซึ่งกีดขวางการเจริญเติบโตของไม้ที่ปลูกและมีปัญหา พื้นผิวหน้าดินแข็ง อันจะมีผลต่อการซึมลงไปได้ของน้ำฝน วิธีการเตรียมพื้นที่ที่ดีที่สุด คือการใช้แทรกเตอร์ไถปาดไม้เดิมที่มีออกและเก็บริบสุมเผาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมให้หมด จากนั้นก่อนเข้าฤดูฝนปลายเดือนเมษายน – ปลายเดือนพฤษภาคม ใช้แทรกเตอร์ไถพรวน 2 ครั้ง การไถอายุประมาณ 3 เดือนครั้งแรกใช้ผานสาม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝนที่ตกลงมา และซึมลงข้างล่าง หลังจากฝนตกหนัก 2 – 3 ครั้ง ใช้รถแทรกเตอร์ผานเจ็ดไถพรวนแปรกลับอีกครั้ง การเตรียมพื้นที่แบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนระยะแรกสูง แต่การปลูกจะได้ผล และต้นไม้จะเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการกำจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทุ่นค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลรักษา

2. ในสภาพพื้นที่ที่เป็นไร่ร้าง หรือพื้นที่กสิกรรมเก่า หรือพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางมาเป็นเวลานาน พื้นที่เหล่านี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับวัชพืช ตอนต้นฤดูฝนก่อนปักหลักระยะปลูกควรใช้แทรกเตอร์ไถพรวน และเก็บรากวัชพืชออกด้วยก็จะช่วยลดการแก่งแย่งของวัชพืชในระยะแรกของการปลูกได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งจะช่วยให้กล้าไม้ที่ปลูกตั้งตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถต่อสู้กับวัชพืชได้เป็นอย่างด

ภายหลังการไถพรวน สิ่งที่ต้องกระทำต่อไปคือการปักหลักระยะปลูกและการขุดหลุมปลูก หากสามารถจัดเตรียมได้กว้างและลึกยิ่งเป็นการดี แต่พื้นที่ที่มีการจัดเตรียมอย่างดีโดยการไถพรวน ขนาดของหลุมประมาณ 25x25x25 ซม. ถึง 50x50x50 ซม. ก็เป็นการเพียงพอ พื้นที่ที่ผ่านการไถพรวนแล้วนั้น การขุดหลุมปลูกสามารถกระทำได้ง่ายและรวดเร็ว หรือจะชักร่องห่างเท่าระยะระหว่างแถว แล้วขุดหลุมปลูกตามระยะที่ต้องการก็ได


การเตรียมดินก่อนปลูก

สวนป่ายูคา
การปลูก

ขนาดกล้าไม้ที่พอเหมาะในการย้ายปลูกอายุประมาณ 3 – 5 เดือน สูงประมาณ 25 – 40 ซม. ควรเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตก ทำให้ดินเปียกชื้นพอสมควร ประการสำคัญถุงพลาสติก ต้องฉีกออกและทิ้งนอกหลุม เพื่อให้ระบบรากสามารถชอนไชออกไปตั้งตัว และหาอาหารได้ดีขึ้นแล้ว กลบดินและกดรอบๆ ต้นไม้ให้แน่น ในบริเวณพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ระดับดินที่กลบหลุม ควรให้เป็นแอ่งลึกกว่าระดับดินโดยรอบเล็กน้อย เพื่อให้เป็นแอ่งรับน้ำฝนเลี้ยงต้นไม้
ระยะปลูกจะใช้ระยะปลูกถี่ห่างเท่าใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และการนำไม้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมี ข้อคิดเห็นดังนี้

1) ปลูกเพื่อเป็นฟืนหรือเผ่าถ่าน ซึ่งใช้ไม้ขนาดเล็ก ก็อาจปลูกระยะถี่ เช่น ใช้ระยะปลูก 1x2 เมตร หรือ 2x2 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 400 – 800 ต้น/ไร่ ในช่วง 2 – 3 ปีก็สามารถ ตัดไม้มาขายใช้ทำฟืนหรือเผ่าถ่านขายได้ และต้นตอไม้ยูคาลิปตัสที่ตัดออกไปสามารถ แตกหน่อได้โดยไม่ต้องปลูกขึ้นใหม่

2) ปลูกเพื่ออุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ หรือไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้าง ที่ต้องการไม้ขนาดโตก็ควรใช้ระยะปลูก 2x3, 2x4 หรือ 4x4 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 100 – 270 ต้น/ไร่ สามารถตัดมาใช้เพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป ส่วนไม้เพื่อการก่อสร้างต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี การปลูกระยะห่างนั้น ในปีที่ 1 – 2 สามารถ ปลูกพืชเกษตรควบลงในระหว่างต้นและแถวของต้นไม้ได้ เป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ และยังมีรายได้ระหว่างคอยผลจากต้นไม้อีกด้วย


ปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา

ปลูกยูคาลิปตัสบนขอบบ่อเลี้ยงปลา
การบำรุงรักษา

การกำจัดวัชพืช เนื่องจากยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิส มีความต้องการแสงและมีความสามารถในการแก่งแย่งกับพวกวัชพืชในระยะแรกได้น้อยดังนั้น การดายวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็นแต่เมื่อต้นไม้สูงพ้นวัชพืชแล้ว การดายวัชพืชรอบโคนต้นปีละครั้งก็เป็นการเพียงพอ ส่วนวัชพืชระหว่างต้นและระหว่างแถว ก็ใช้มีดหวดให้สั้นก็พอ ซึ่งการกำจัดวัชพืชนี้นอกจากจะเป็นการลดการแก่งแย่งแสงและธาตุอาหารในดินให้แก่ต้นไม้แล้ว ยังเป็นการลดเชื้อเพลิงที่จะเกิดไฟป่าที่จะเป็นอันตรายต้นไม้ที่ปลูกอีกด้วย

การป้องกันไฟป่า ไฟป่าเป็นตัวทำลายที่สำคัญต่อสวนป่า ดังนั้นการป้องกันไฟป่าเป็นเรื่องจำเป็น มิฉะนั้นต้นไม้ที่ปลูกมาด้วยความเหนื่อยยากและใช้เวลานาน จะถูกทำลายลงในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ การป้องกันไฟป่าทำได้โดยการกำจัดวัชพืชให้น้อยลง การทำแนวกันไฟ การชิงวัชพืชก่อนถึงหน้าแล้งซึ่งเป็นช่วง ที่เกิดไฟป่า การเตรียมคนและอุปกรณ์ให้พร้อมเพื่อดับไฟ เมื่อเกิดไฟไหม้สวนป่าก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะป้องกันการเกิดไฟป่าและลดความรุนแรงที่เกิดจากไฟป่าได

การใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น ควรใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้บ้างเป็นครั้งคราวจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ได้ สำหรับปริมาณที่ใส่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ขนาดต้นไม้ ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นแห่งๆ ไป โดยใช้หลักว่าใส่ปริมาณน้อยแต่ใส่บ่อยๆ ต้นไม้จะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้เต็มที่ใส่ปุ๋ยรอบต้นให้ห่างจากโคนเล็กน้อย พร้อมกับพรวนดินรอบๆ โคนต้น

การลิดกิ่ง ยูคาลิปตัสบางสายพันธุ์จะแตกกิ่งก้านตั้งแต่ยังเล็กหรือมีกิ่งที่มีขนาดใหญ่ทำให้ดูเป็นปู หากผู้ปลูกต้องการไม้ที่มีลำต้นเปลาตรง ควรหมั่นตรวจและลิดกิ่งเสมอ แต่บางสายพันธุ์จะมีกิ่งก้านเล็ก ซึ่งจะแห้งและร่วงหล่นเองตามธรรมชาติในฤดูแล้ง

การตัดสางขยายระยะ ในกรณีที่ปลูกต้นไม้ในระยะถี่ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตมากขึ้นก็จะมีการเบียดบังและแก่งแย่งกันเอง ทำให้ต้นไม้ที่เหลืออยู่เจริญเติบโตดีขึ้น และไม้ที่ตัดออกก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ โดยจะเลือกตัดต้นที่มีลักษณะเลว หรือคดงอ แคระแกร็นออก หรืออาจจะเลือกตัดออกแบบง่ายๆ เช่น ตัดออกแบบต้นเว้นต้น หรือแถวเว้นแถว หรือสลับกัน ก็แล้วแต่ผู้ปลูกจะพิจารณาตามความเหมาะส

การบำรุงรักษาอื่นๆ ได้แก่ การป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าเหยียบย่ำในระยะที่ต้นไม้ยังเล็ก การป้องกันโรคและแมลง ซึ่งผู้ปลูกจะต้องหมั่นตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ

การเจริญเติบโต

การปลูกสร้างสวนป่ายูคาลิปตัส ถ้าหากได้มีการดำเนินการปลูกและบำรุงรักษาอย่างดีถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว ต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในสวนป่า จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตอบแทนในระยะเวลา 5 ปี การเจริญเติบโตของยูคาลิปตัสในระยะ 5 – 7 ปีแรกไม่ต้องการเนื้อที่เท่าใดนัก เนื่องจากมีเรือนยอดแคบๆ แม้บางแห่งจะเห็นต้นไม้อยู่อย่างเบียดเสียดกันบ้างแต่การเจริญเติบโตยังคงเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงยังไม่จำเป็นนัก ในการตัดสางขยายระยะ อย่างไรก็ตามสิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติในการดูแลต้นไม้คือหากพบต้นไม้ใดที่ไม่แข็งแรง เช่น ต้นที่ถูกแมลง รบกวนหรือเป็นโรค ไม้ ที่แคระแกร็นหรือหากถูกข่มจากต้นข้างเคียงมาก ควรต้องตัดทิ้งออกไป สวนป่าที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชและเชื้อเพลิงต่างๆ อย่างดีแล้ว มักจะรอดพ้นอันตรายจากไฟป่าได้ หรือในกรณีที่ต้นไม้ยูคาลิปตัสได้รับอันตรายจากไฟป่าส่วนใหญ่ก็จะแตกตาออกมาอีกตามกิ่ง ลำต้นและตาเหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นหน่อใหม่หรือบางครั้งลำต้นเดิมจะเริ่มเจริญเติบโตต่อไปอีกอย่างปกต

การตัดฟัน และการไว้หน่อ

1.ปลูกระยะ 1x1 เมตร (ไร่ละ 1,600 ต้น) ปีที่ 2 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนขนาดเล็ก ปีที่ 3 – 4 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนและถ่าน ที่เหลือตัดในปีที่ 5 เพื่อทำเยื่อกระดาษ ชิ้นไม้สับ เสาขนาดเล็ก และไม้แปรรูปขนาดเล็ก

2.ปลูกระยะ 2x2 เมตร และ 2x4 เมตร (ไร่ละ 400 ต้น และ 20 ต้น) ปีที่ 3- 4 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนและถ่าน ปีที่ 5 ตัดทำเยื่อกระดาษ ชิ้นไม้สับ เสาขนาดเล็ก และไม้แปรรูปขนาดเล็ก หรือคงเหลือไม้ลักษณะดีไว้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้แปรรูปใช้ก่อสร้าง บ้านเรือน

3.ปลูกระยะ 3x3 เมตร, และ 4x4 เมตร (ไร่ละ 176, 100 ต้น) ตัดในปีที่ 5 ทั้งหมด เพื่อทำเยื่อกระดาษ ชิ้นไม้สับ ฟืน ถ่าน เสาขนาดเล็ก และไม้แปรรูปขนาดเล็ก หรือคงเหลือไม้ลักษณะดีไว้ 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้แปรรูปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน

การตัดไม้ยูคาลิปตัสในสวนป่าออกมาใช้ประโยชน์ดังกล่าว ควรทำในระยะเริ่มต้นฤดูฝน เพราะดินมีความชื้น ต้นไม้ที่ตัดโคนลงจะได้รับความเสียหายจากการโค่นล้มน้อยกว่าช่วงหน้าแล้ง และควรตัดต้นไม้ยูคาลิปตัสให้ระดับพื้นดินประมาณ 10 – 12 ซม. เพื่อปล่อยให้แตกหน่อใหม่ จากนั้นอีกประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 จำนวน 10 กก./ไร่ ปล่อยไว้อีก 1 – 2 เดือน ทำการตัดแต่งหน่อไว้ให้เหลือเพียง 2 – 3 หน่อ หรืออาจจะเหลือไว้ 7 – 8 หน่อ อีกประมาณ 1 ปี จึงค่อยสางหน่อออกไป 5 – 6 หน่อ ไปทำฟืน – ถ่าน หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เหลือหน่อที่ดีที่สุดเพียงหน่อเดียวหรือ 2 หน่อ ทำการบำรุงรักษาทุกๆ ปีตามปกติจนตัดฟันครั้งต่อไป

 

ประโยชน์ของไม้ยูคาลิปตัส
ยูคาลิปตัสสามารถนำมาปลูกเป็นสวนป่าเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่น ในช่วง 1 – 2 ปีแรกสามารถปลูกพืชควบในพื้นที่สวนป่าแบบไร่นาป่าผสม หรือวนเกษตรได้ เช่น ปลูกละหุ่ง เผือก ถั่วลิสง สัปปะรด ข้าวโพด ข้าว หญ้ากินี ฯลฯ ในระหว่างแถวของยูคาลิปตัสซึ่งจากการวิจัยของนักวิชาการพบว่า พืชควบที่ปลูกให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดีและ ยูคาลิปตัสไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อพืชเกษตร ที่ปลูกแต่อย่างใด
-ประโยชน์ทางตรง

ไม้ยูคาลิปตัสสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางตรงได้หลายหลายอย่างดังนี้

1. ทำไม้ใช้สอย เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ทำรั้ว ทำคอกปศุสัตว์ ทำเสา ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ไม้ยูคาลิปตัสสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือนได้ แต่ควรจะได้ทำการ อาบน้ำยารักษาเนื้อไม้ไว้ก่อน ก็จะยืดอายุ การใช้งานได้นาน

2. ทำฟืน เผาถ่าน ถ่านไม้ยูคาลิปตัสใช้เป็นเชื้อเพลิงติดไฟได้ดีและมีขี้เถ้าน้อย จากการทดลอง ไม้ฟืนยูคาลิปตัสให้พลังงานความร้อน 4,800 แคลอรี่ต่อกรัม ส่วนถ่านไม้ยูคาลิปตัส ให้พลังงานความร้อน 7,400 แคลอรี่ต่อกรัม ซึ่งให้ความร้อนใกล้เคียงกับถ่านไม้โกงกาง ซึ่งจัดว่าเป็นถ่านไม้ชั้นดีที่สุด

3. ทำชิ้นไม้สับ ไม้ยูคาลิปตัสเมื่อนำมาแปรรูปและสับทำชิ้นไม้สับ สามารถนำไปผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด แผ่นปาร์ติเกิล และแผ่นไม้อัดซีเมนต์ นอกจากนี้ได้มีโรงงานผลิตชิ้นไม้สับ เพื่อนำส่งไปจำหน่ายให้กับโรงงานเยื่อกระดาษทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศเกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งมีความต้องการสูงมาก ไม้ท่อนยูคาลิปตัส 2.2 ตัน นำมาผลิตเป็นชิ้นไม้สับได้ 1 ตัน ราคาชิ้นไม้สับ ประมาณตันละ 3,000 บาทเศษ

4. ทำเยื่อไม้ ไม้ยูคาลิปตัสสามารถแปรรูปทำเยื่อไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งมูลค่าผลผลิตเยื่อไม้ราคาตัน 17,000 บาท โดยไม้ท่อนยูคาลิปตัส 4.5 ตัน ผลิตเยื่อไม้ได้ 1 ตัน เยื่อไม้ให้สารพวกเซลลูโลส ซึ่งนำไปใช้ทำเส้นใยเรยอนและทำผ้าแทนเส้นใยฝ้าย และปุยนุ่นได้อีกด้วย โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นตันละ 60,000 บาท และเมื่อนำเส้นใยเรยอนมาปั่นเป็นเส้นด้าย และทอเป็นผ้าจะมีมูลค่าสูงถึง ตันละ 75,000 บาท และ 300,000 บาท ตามลำดับ

5. ทำกระดาษ จากการประเมินเยื่อไม้ยูคาลิปตัส 1 ตัน ผลิตเยื่อกระดาษได้ประมาณ 1 ตัน เยื่อไม้ยูคาลิปตัสมีคุณสมบัติเด่น คือ มีความฟูสูง และมีความทึบแสง ประกอบกับ ไฟเบอร์มีความแข็งแรงเหมาะต่อการใช้ทำกระดาษพิมพ์เขียวประเภทต่างๆ ได


-กองไม้ชิ้นสับ


ปลูกยูคาลิปตัสควบกับพืชเกษตร

ปลูกยูคาลิปตัสในนาข้าว

ท่อนไม้ยูคาลิปตัสเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 8 นิ้ว สำหรับเลื่อยเป็นไม้แปรรูป


ไม้ยูคาลิปตัสที่เลื่อยเป็นไม้แปรรูป

ชิ้นไม้สับ
ประโยชน์ทางอ้อม

1. เห็ด ที่ระบบรากของไม้ยูคาลิปตัสจะมีเชื้อราไมคอร์ไรซ่าชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ เป็นตัวช่วย ดูดธาตุฟอสฟอรัสให้กับต้นยูคาลิปตัสได้มากขึ้น ช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตดี และปรับปรุงดินเสื่อม ให้มีคุณภาพดีขึ้น เมื่อถึงฤดูฝนเชื้อไมคอร์ไรซ่าเหล่านี้ ก็จะแทงดอกเห็ดโผล่เหนือพื้นดิน เพื่อแพร่ กระจายพันธุ์ออกไป คนจึงเก็บดอกเห็ดเหล่านี้ไปกินไปขายได้ ในที่สวนป่ายูคาลิปตัสบางแห่งพบว่า มีเห็ดเกิดขึ้นใต้ต้นยูคาลิปตัสมากมายซึ่งเรียกว่า เห็ดยูคา ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น เห็ดเสม็ด เห็ดไข่ เห็ดระโงกขาว เป็นต้น ซึ่งสามารถรับประทานได้ อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทดลองหาวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดยูคาในห้องปฏิบัติการอยู่ ซึ่งเชื่อแน่ว่าหากสามารถเพาะเชื้อเห็ดยูคาได้ และนำเชื้อเห็ดชนิดนี้ไปใส่ในสวนป่ายูคาลิปตัส และใส่ปุ๋ยคอกช่วยแล้ว จะทำให้เกษตรกรสามารถเก็บเห็ดยูคาบริโภค และส่งขายได้ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

2. เลี้ยงผึ้ง ดอกยูคาลิปตัสมีน้ำหวานล่อแมลงมาผสมเกสรและดูดเอาน้ำหวานไปสร้างรวงผึ้ง และไม้ยูคาลิปตัสมีดอกปีละ 7 – 8 เดือนหรือเกือบตลอดปี ซึ่งผิดกับพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ทั่วไป ที่มักจะมีดอก 1 – 2 เดือน/ปี จึงเป็นประโยชน์มากสำหรับการเลี้ยงผึ้ง น้ำผึ้งที่ได้จากดอกไม้ ยูคาลิปตัสมีรสและคุณภาพดีเหมือนกับน้ำผึ้งที่ได้จาก ดอกไม้ชนิดอื่นๆ

3. สิ่งแวดล้อม ช่วยทำให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ เช่น เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ พื้นที่อันเนื่องจากปริมาณน้ำที่ต้นไม้ยูคาลิปตัสดูดขึ้นไปคายน้ำออกทางใบ เป็นปริมาณกว่า 95% มีส่วนช่วยทำให้ฝนตก ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารในดิน

4. เศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการปลูกสร้างสวนป่าเชิงพาณิชย์อย่างครบวงจร โดยเฉพาะเกษตรกร รายย่อยที่ปลูกยูคาลิปตัส จะมีแหล่งตลาดรองรับผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความมั่นคง ในอาชีพ และรายได้

5. สังคม สร้างงานในชนบท ทำให้คนมีงานทำ กระจายโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่ชนบท

6. ประหยัดเงิน ลดเงินที่จะออกไปต่างประเทศ จากการที่จะต้องสั่งซื้อไม้ท่อนและ วัตถุดิบ เยื่อกระดาษเข้าประเทศ

7. ช่วยฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ของชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าเศรษฐกิจได้มากขึ้น ตามเป้าหมายของรัฐบาล


เสาเข็มไม้ยูคาลิปตัส

กองไม้ยูคาลิปตัสวางจำหน่ายบริเวณโรงค้าไม้

กองไม้ยูคาลิปตัส



WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com