สาระความรู้วิธีการทำถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::



วิธีการผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ

แกลบมีอุปทานพอเพียงในการผลิตเป็นเชื้อเพลิงแข็งเพื่อใช้ทดแทนฟืนและไม้ แต่อาจแปรผันตามฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวบ้าง สำหรับราคาแกลบไม่น่าจะมีปัญหา และถ้าหากจำเป็นต้องกักตุนแกลบไว้เพื่อการผลิตฟืนแกลบเป็นการค้าเงินทุนจมที่ต้องใช้ในการซื้อแกลบ ก็จะไม่สูงมากนัก

1.เครื่องอัดถ่าน

เมื่อแกลบนำมาบดแล้วก็อัดภายใต้แรงดันสูง โดยมีความร้อนเข้าช่วย ทำให้สารประกอบเซลลูโลส สิกนิน และ คาร์โบไฮเดรท ในแกลบละลาย ทำหน้าที่ เป็นตัวประสารแกลบให้เกาะกันเป็นแท่งหรือก้อนได้ ดังรูปที่ 1 แสดงเครื่องจักรที่ใช้ ในการผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบ ที่ผลิตขึ้นในใต้หวัน หลักการทำงานของเครื่องจักร มีดังนี้คือ

บรรจุแกลบที่ต้องการใช้ลงในถัง (HOPPER) ที่มีทางออกไปสู่กระบอกอัด (Extrusion Cylinder) ซึ่งมีความยาว 28.5 เซ็นติเมตร ภายในกระบอกอัด มีเกลียวสกรูอัดชนิด เกลียวตัวหนอนดังรูปที่ 2 ซึ่งหมุนด้วย ความเร็วประมาณ 280 รอบ/นาที การขับเคลื่อนสกรูใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3 สาย ขนาด 15 แรงม้า ความเร็ว 1440 รอบ/นาที ทดรอบด้วยสายพาน และเฟืองทด โดยตรงกับสกรู
แกลบจะไหลเข้าไปในกระบอกอัดเมื่อสกรูหมุน และถูกสกรูอัดติดผนักกระบอกอัดด้วย แรงดันประมาณ 600 กก./ซม.^2 ในขณะที่แกลบถูกอัดเป็นแท่งเคลื่อนผ่าน กระบอกอัด จะได้รับความร้อนจากเครื่องทำความร้อน(Heater) ขนาด 0.8 กิโลวัตต์ 3 ตัวเรียงกัน ติดตั้งอยู่ที่ปลายกระบอกอัด แท่งฟืนแกลบจะเคลื่อนตัวช้าๆ ออกจากปลายกระบอกอัด และจะหัดเมื่อสำผัสกับรางเหล็กฉาก และถูกผลักให้หักเหจาก ทิศทางเดิม ความยาวของแท่งฟืนแกลบจะควบคุมได้ด้วยรางเหล็กฉากนี้



รูปที่1 เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต

รูปที่ 2 แสดง สกรูอัดเกลียวตัวหนอน
2.สภาวะที่เหมาะสมในการผลิต

ในการผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบนั้น มีตัวแปรต่างๆที่สำคัญที่ทำให้คุณภาพของแท่งฟืนแกลบที่ได้แตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. ความชื้น
ถ้าหากแกลบมีความชื้นมากเกินไปไอน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อแกลบได้รับความร้อนจะขยายตัว ทำใ้ห้แท่งฟืนแกลบระเบิดและ แตกร่วนแต่ ถ้าหากว่า ความชื้นน้อยเกินไปทำให้แกลบเกาะกันเป็นแท่งได้ยาก ผิวของแท่งมีรอยแตกร้าว โดยทั่วไปปริมาณความชื้นที่ใช้ควรจะให้ความชื้นอยู่ระหว่าง 8-12%

2. อุณหภูมิ
ถ้าหากว่าใช้อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้ผิวหน้าของแท่งฟืนไหม้เกรียม การเกาะตัวกันของแกลบไม่เป็นเนื้อแน่นดีเท่าที่ควร และถ้าหากว่าใช้อุณหภูมิ ต่ำ ความแข็งของแท่งฟื้นที่ได้ก็จะต่ำด้วยเช่นกัน ที่สำคัญต้องควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ และการใช้เชือกฉนวนพันรอบเครื่องทำความร้อนจะช่วย ลดปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียความร้อนสู่บรรยากาศได้

3. ความดัน
ความดันในกระบอกอัดขึ้นอยู่กับระยะห่าง ระหว่างเกลียวอัด ความสูงของเกลียว ความเร็วของสกรู ตลอดจนระยะห่างระหว่างผนังกระบอกอัด กับสกรู เมื่อแกลบถูกสกรูหมุนดันให้ติดกับกระบอกอัด ซึ่งรับความร้อนมาจากเครื่องทำความร้อน จะทำให้เกิดการเกาะตัวกัน และแรงเสียดทาน ระหว่างกระบอกอัด กับการเคลื่อนตัวของแท่งฟืน ทำให้การอัดตัวแน่นยิ่งขึ้น

2.ผลของการทดลองผลิต

ผลการทดลองผลิตฟืนจากแกลบในช่วงความชื้นแกลบ 8-12% ที่อุณหภูมิของเครื่องทำความร้อน 250-270 องศาเซลเซียส แท่งฟืนแกลบ ที่อัดได้มีคุณลักษณะแน่น ไ่ม่แตกร้าว หรือไหม้เกรียม จากการสรุปผลของการทดลองสามารถสรุปผลได้ดังนี้

1.แกลบที่ใช้ต้องมีความชื้นไม่เกิน 12%
2.อุณหภูมิความร้อนของเครื่องทำความร้อนที่เหมาะสมที่สุด 265 องศาเซลเซียส
3.กำลังการผลิตของเครื่องอัดเฉลี่ย 1.02 นาทีต่อ 1 แท่ง หรือโดยเฉลี่ยในเวลาเดินเครื่อง 8 ชั่วโมง สามารถอัดแ่ท่งฟืนจากแกลบที่มี ความยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตร ได้ 470 แท่ง
4.อุณหภูมิของแท่งฟืนแกลบที่ได้ ประมาณ 119 องศาเซลเซียส
5.พลังงานไฟฟ้าที่ใช้เฉลี่ย 0.1727 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ต่อแท่ง
6.ใช้แกลบ 1.50 กิโลกรัมต่อ ฟืนแกลบ 1 แท่ง (50 เซ็นติเมตร)
7.น้ำหนักเฉลี่ยของแกลบที่ลดลงหลังจากอัดเป็นแท่งฟืน 6.4%
8.อัตราการสึกกร่อนของสกรูประมาณ 0.53 มม. ต่อตันแกลบหรือ สกรูจะใช้งานผลิตได้ 2820 แท่งฟืนแกลบ(ประมาณ 4 ตันแกลบ)
9.ใช้แรงงาน 1 คนต่อหนึ่ง เครื่องอัด

3.คุณสมบัติของแท่งฟืนจากแกลบ
คุณสมบัติของเชื้อเพลิงของฟืนจากแกลบ ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างแท่งฟืนแกลบ ที่สุ่มจากการทดลองผลิต นอกจากนี้แท่งฟืนแกลบที่ผลิต ได้มีคุณลักษณะสม่ำเสมอ ดังรูป
มีความแข็งแรงมากพอ สามารถโยนหรือกองสูงได้โดยไม่แตกหัก ไม่สิ้นเปลืองเนื้นที่ใน การเก็บ และสะดวกในการขนส่ง
คุณสมบัติทางฟิสิกส์มีค่าเฉลี่ยดังนี้

สำหรับค่าความร้อนเฉลี่ยของเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบ ดังที่แสดงในตาราง คือ 3886 กิโลแคลอรี่นั้น เมื่อนำมาคำนวนกับค่าความหนาแน่น 1326 กก./ม.^3 จะให้ค่าความร้อนต่อหน่วนปริมาตร สูงถึง 5,152,836 กิโลแคลอรี่/ม.^3 ในขณะที่ฟืนไม้มีความร้อนเพียง 3,168,300 กิโลแคลอรี่/ม.^3 หรือเพียง 62% ของฟืนจากแกลบ ทั้งนี้เพราะฟืนไม้มีค่าความหนาแน่นเพียง 708 กก./ม^3 เท่านั้นเอง

ลักษณะของแท่งฟืนแกลบที่ผลิตได
จากการทดลองผลิตถ่านจากฟืนแกลบ พบว่า ถ่านที่ได้มีค่าความร้อน 4820 กิโลแคลอรี่/กก.ซึ่งน้อยกว่าค่าความร้อนเฉลี่ยของถ่านไม้ทั่วไปคือ 7450 กิโลแคลอรี่/กก. ทั้งนี้เพราะแกลบมีขี้เถ้า ซิลิเกตมาก แต่ถ่านจากฟืนแกลบให้ค่าความหนาแน่นสูงถึง 885 กก./ม.^3 เมื่อเทียบกับถ่านไม้ 705 กก./ม.^3 จึงทำให้ระยะเวลาการเผาใหม้ของถ่านจากแกลบสูงถึง 3 ชั่วโมง ขณะที่ถ่านไม้มีระยะเวลาการเผาไหม้เพียง 1.7 ชั่วโมง ที่ปริมาณ และสภาวะเดียวกัน
ดังนั้น ถ้าหากได้มีการพัฒนากรรมวิธีเผาถ่านจากฟืนแกลบได้ดีกว่าการเผาถ่านจาำำกไม้ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แล้วการผลิตถ่านจากฟืนแกลบจะสามารถ ทำได้ในราคาที่ใกล้เคียงกัน
ที่มา วิศวกรรมสาร / กุมภาพันธ์ 2525



WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com