สาระความรู้การเผาถ่านด้วยเตาอิวาเตะ
:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::




วิธีเผาถ่านด้วยเตาอิวาเตะ

ไม้ฟืนที่ใช้เผาถ่านอาจจะได้จากไม้ทั่ว ๆ ไป เช่น ยูคาลิปตัส  กระถินณรงค์  กระถินเทพา ฯลฯ โดยไม้ฟืนที่ใช้เผาถ่านนั้น  อาจจะเป็นปลายไม้ หรือเศษที่เหลือจากการตัดสาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมในโรงงานเยื่อกระดาษ  ราคารับซื้อนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับระยะทางในการขนส่งไม้ โดยทั่วไปปลายไม้จะมีราคาประมาณตันละ 400 – 500 บาททั้งนี้วัตถุดิบ 1 ตัน  เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตจะได้ถ่านไม้  ประมาณ 250 กิโลกรัม   หรือ 1 ใน 4

ขั้นตอนการผลิตถ่าน

กระบวนการผลิตถ่านด้วยเตาอิวาเตะตามรูปแบบของคุณพุฒินันท์  พึ่งวงศ์ญาติ รองประธานชมรมสวนป่าผลิตภัณฑ์และพลังงานจากไม้   มีหลักวิธีการที่ได้ค้นควัาทดลองจนสามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตให้ได้มาตรฐานทั้งคุณภาพและปริมาณที่ดี เมื่อเรียงท่อนฟืนภายในเตาเผาเรียบร้อย ขั้นตอนการผลิตถ่านจะเริ่มต้น  ดังนี้

1.ขั้นการไล่ความชื้นจากไม้ฟืน  (Dehydration)  โดยใช้อุณหภูมิ 20 – 270 ?C
ขั้นตอนนี้จะใช้ความร้อนจากภายนอกเตา เพื่อให้ท่อนฟืนในเตาเกิดปฏิกิริยายาดูดความร้อนและคายความชื้นออกมา  โดยการก่อเชื้อเพลิง  ด้านหน้าเตา  เพื่อให้ลมร้อนไหลเข้าภายในเตาเผา  ระยะเวลาในขั้นนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นของไม้ฟืน  หากความชื้นมีอยู่มากก็ต้องใช้เชื้อเพลิงและเวลามากขึ้น  ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดเวลาควรจะนำไม้ฟืนผึ่งแดดประมาณ  3 – 4 สัปดาห์  เพื่อลดความชื้นลง
2.ขั้นเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่าน (Carbonization) โดยใช้อุณหภูมิ  270 – 400 ?C
ระยะนี้ไม้ฟืนจะลุกไหม้และสลายตัวโดยความร้อนที่สะสมอยู่ตัวเองและจะมีควันสีขาวปนออกมาจากปล่อง ชาวบ้านเรียกควันระยะนี้ว่า “ควันบ้า” ของเหลวที่กลั่นจากควันในระยะนี้ยังไม่มีคุณสมบัติในการใช้งานและจะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่เป็นเวลานาน  โดยการควบคุม อุณหภูมิสามารถทำได้โดยการควบคุมอากาศที่ช่องลมด้านหน้าเตาควบคุ่ไปกับการใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิ (Thermometer)  บริเวณกำแพงเตา
ช่วงที่อุณหภูมิภายในเตาอยู่ในช่วง 300 – 400 ?C  ไม้จะสลายตัวกลายเป็นถ่านโดยสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ  400 ?C  ขึ้นไป  ซึ่งขั้นตอนเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านนี้ควันที่ออกมาจะประกอบด้วยสารต่าง ๆ ที่เกิดใหม่หลายชนิด และสามารถกลั่นเป็นของเหลว  ที่เรียกว่า  “น้ำส้มควันไม้”  และนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโดยจะกล่าวถึงต่อไป
3.ขั้นการทำให้ถ่านบริสุทธิ์   (Refinement)
โดยทั่วไปกระบวนการเผาไม้ให้เป็นถ่านจะยุติลงที่อุณหภูมิเพียง  400 ?C  ก็จะสามารถนำผลผลิตมาใช้งานได้  แต่เทคนิคการทำให้ถ่าน บริสุทธิ์นี้ยังคงต้องใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่า  400 ?C  เพื่อสลายน้ำมันดิน (Tar)ที่ยังคงเหลืออยู่ในปริมาณสูงออกจากถ่าน  ซึ่งจะเป็นผลดีเมื่อนำผลผลิตถ่านที่บริสุทธิ์นี้ไปใช้ในการปิ้งย่างอาหาร  เพราะน้ำมันดินที่ลดลงจะช่วยลดปริมาณสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการประกอบอาหารนั่นเอง  นอกจากนี้ถ่านบริสุทธิ์ยังมีคุณสมบัติให้พลังงานความร้อนสูงกว่าถ่านทั่ว ๆ ไป และเป็นที่ต้องการของตลาด อีกด้วย
การควบคุมอุณหภูมิในขั้นนี้จะต้องดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วนในส่วนของเหลว (ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันดิน)ที่กลั่นได้จากขั้นตอนนี้  ไม่มีผลดีแต่อย่างได ให้ดักเก็บไว้เพื่อรอทำลายก่อนทิ้ง
4.การทำให้เย็น  (Cool)
ระยะเวลาการเผาถ่านด้วยเตาอิวาเตะขนาด  12  คิวบิกเมตรจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงเวลาประมาณ 10 วัน จึงจะสามารถเก็บผลผลิตถ่านเพื่อจำหน่ายหรือนำไปใช้งานได้  โดยหลังจากปิดปล่องเตาแล้ ต้องปล่อยให้อุณหภูมิในเตาลดต่ำกว่า  50 ?C  เพราะถ่านไม้ที่อุณหภูมิ  60–70 ?Cนั้นสามารถลุกติดไฟได้  หากได้รับออกซิเจนจากอากาศ  ดังนั้นต้องเริ่มเปิดเตาที่ปล่องควันเพื่อระบายความร้อนและก๊าซที่คงค้างอยู่ในเตาออกให้หมดเสียก่อนที่จะเปิดด้านหน้าเตาและนำผลผลิตออกจากเตาเผา
อย่างไรก็ตามเทคนิคในกรผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะยังมีข้อมูลที่จะช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกหลายประการที่ยังไม่ได้กล่าวถึง  หากสนใจทราบรายละเอียดอื่น ๆ สามารถศึกษางานได้กับคุณพุฒินันท์  เจ้าของผลงาน ที่ อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา
ถ่านไม้ทั่ว ๆ ไป ราคาขายที่หน้าเตา  อาจจะอยู่ที่ประมาณ  กิโลกรัมละ  3 – 4 บาท แต่หากเป็นถ่านบริสุทธิ์ที่ปลอดสารก่อมะเร็งและให้ค่าความร้อนสูง  (ราว 7,400 – 7,800 กิโลแคลอรี่/กก)  นั้นสามารถขายได้ราคาดีกว่า  เป็นที่ต้องการจากผู้บริโภค  โดยลักษณะที่สังเกตได้ว่าเป็นถ่านบริสุทธิ์  คือ  พิจารณาจากพื้นผิวบริเวณแก่นไม้  ที่มักจะพบรอยแตกเป็นรูปดอกไม้พร้อมกับมีความมันวาว  และหากใช้นิ้วสัมผัสจะมีฝุ่นถ่านสีดำติดมือมาน้อยมาก ค่าความร้อนที่สูงจะทำให้สังเกตได้ชัดเจน  เมื่อนำถ่านมาหุงต้ม  จะพบว่าอาหารนั้นสุกอย่างรวดเร็ว


WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com