โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ถ่านจากเปลือกผลยางพารา มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะศึกษาความเป็นไปได้ ในการผลิตถ่านจากเปลือกผลยางพารา สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบสมบัติของถ่านจากเปลือกผลยางพารากับถ่านชนิดอื่นๆ ในอันที่จะพัฒนาเป็นถ่าน หุงต้มทดแทน
ถ่านจากไม้ จากการศึกษาพบว่า เปลือกผลยางพาราจะให้ถ่านร้อยละ 26.18 ของน้ำหนักเปลือกผลยางพาราในขณะที่กะลามะพร้าวให้ถ่าน ร้อยละ 37.33 ของน้ำหนักกะลาที่นำมาเผา เมื่อศึกษาปริมาณความร้อนของถ่านจากเปลือผลยางพาราเปรียบเทียบกับถ่านกะลามะพร้าว และถ่านที่ซื้อจากท้องตลาด จะให้ปริมาณความร้อน 2333.33 , 2516.67 และ 1600 แคลอรีต่อถ่าน 5 กรัม ตามลำดับ เมื่อทดสอบระยะเวลาการเผาไหม้ พบว่าถ่านจากเปลือกผลยางพาราใช้เวลาในการเผาไหม้จนหมดน้อยที่สุด คือ 32.33 นาที ถ่านกะลามะพร้าว 2.33 นาที และถ่านที่ซื้อจากท้องตลาดใช้เวลานานที่สุด 45.67 นาทีถ่านจากเปลือกผลยางพารา ให้น้ำหนักขี้เถ้า ร้อยละ 5.35 ถ่านกะลามะพร้าว ร้อยละ 3 และถ่านที่ซื้อจากท้องตลาดร้อยละ
5
ส่วนความสามารถในการซับดูดสารละลายไอโอดีน ถ่านกะลามะพร้าวดูดซับได้ 0.93 มิลลิกรัม/ถ่าน 5 กรัม ถ่านเปลือกเมล็ดยางพาราดูดซับได้ 0.68 มิลลิกรัม/ถ่าน 5 กรัม และถ่านที่ซื้อจากท้องตลาด ดูดซับได้ 0.51 มิลลิกรัม/ถ่าน 5 กรัม จากผลการศึกษาพบว่าถ่านจากเปลือกผลยางพารามีคุณภาพต่ำกว่าถ่านกะลามะพร้าว
ทุกสมบัติที่ทำการทดสอบ แต่สมบัติบางประการดีกว่าถ่านที่ซื้อจากท้องตลาด เมื่อทำการทดสอบนำถ่านมาใช้ในการหุงต้ม คือต้มน้ำและหุงข้าวเปรียบเทียบเวลาที่ทำให้น้ำเดือด และหุงข้าวจนสุก เปรียบเทียบกับถ่านที่ซื้อจากท้องตลาดถ่านจากเปลือกผลยางพารา ใช้เวลาเฉลี่ยในการต้มน้ำ 19.33 นาที ถ่านจากท้องตลาดใช้เวลา 20.67 นาที และใช้เวลาในการหุงข้าวจนสุกใช้เวลาเท่ากัน คือ 26.33 นาที เมื่อทดสอบความสิ้นเปลืองในการใช้งาน ถ่านเปลือกผลยางพารา มีอัตราสิ้นเปลืองสูงกว่าถ่านจากท้องตลาดร้อยละ11.85 ดังนั้นถ่านจากเปลือกผลยางพาราจึงสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านจากไม้ได้ในระดับหนึ่ง
|