สาระน่ารู้การส่งออกถ่านไม้
:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::



การส่งออกถ่านไม้

 

พิกัดศุลกากร : 44.02
วัตถุประสงค์ในการควบคุม
- เพื่อป้องกันการขาดแคลนถ่านไม้
ขอบเขตในการควบคุม
- ถ่านไม้ทุกชนิด ยกเว้นถ่านไม้ยางพาราที่ออกทางด่านศุลกากรสะเดาและเบตง
การส่งออกถ่านไม้ ต้องดำเนินการดังนี้
1. การออกใบอนุญาต

1.1 หลักเกณฑ์
- อนุญาตเฉพาะถ่านไม้ป่าเลน ถ่านไม้ยางพารา และถ่านไม้ยูคาลิปตัสซึ่งได้จากการเผาไม้ที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ หรือที่มีสิทธิครอบครอง รวมทั้งถ่านที่ได้จากขี้เลื่อยอัดแท่ง
1.2 เอกสารที่ใช้
  • แบบคำขอใบอนุญาตส่งออกสินค้าทั่วไป
  • แบบ อ.1 และ อ.2 หรือแบบ อ.3 และ อ.4
  • ใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ของกรมป่าไม้ สำหรับถ่านไม้ป่าเลนและถ่านไม้ยางพารา
  • หนังสือรับรองจากกรมป่าไม้ว่าเป็นถ่านไม้ที่เผาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิหรือมีสิทธิครอบครองสำหรับถ่านไม้ยูคาลิปตัส
  • เอกสารทางการค้า เช่น สัญญาซื้อขายหรือใบกำกับสินค้า
1.3 ระยะเวลาดำเนินการ
- ไม่เกิน 3 วันทำการ
สถานที่ติดต่อ
กรมการค้าต่างประเทศ

      สำนักมาตรการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป ชั้น 10
      44/100 หมู่ที่ 1 ถ.นนทบุรี-สนามบินน้ำ ต.บางกระสอ
      อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 0 2547 5122-3
      e-mail : dv2_info@moc.go.th
      หรือ e-mail : dv1_info@moc.go.th

      สำนักบริการการค้าต่างประเทศ ชั้น 3-4
      44/100 หมู่ที่ 1 ถ.นนทบุรี-สนามบินน้ำ ต.บางกระสอ
      อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 0 2547 4755-7
      e-mail : eximdft@moc.go.th

ส่วนภูมิภาค

    สำนักงานการค้าต่างประเทศ จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5327 4671-2
    e-mail : oftcm@moc.go.th
    สำนักงานการค้าต่างประเทศ จังหวัดชลบุรี โทร. 0 3834 1174 ,  0 3821 3063
    e-mail : oftcb@hotmail.com
    สำนักงานการค้าต่างประเทศ จังหวัดสระแก้ว โทร. 0 3742 5062
    e-mail : oftsk@thaimail.com
    สำนักงานการค้าต่างประเทศ จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4323 8115 ,0 4333 6674 , 0 4324 2645
    e-mail : oftkk21@mail.cscoms.com
    สำนักงานการค้าต่างประเทศ จังหวัดสงขลา โทร. 0 7425 2501-2
    e-mail : oftsl@mail.cscoms.com



 

มาตรการควบคุมการส่งออกถ่านไม้

-----------------------------------------------------------------

1. มาตรการควบคุมการส่งออกถ่านไม้

1.1 ความเป็นมา  (แผ่นภาพที่ 1 )

                1.1.1 ประเทศไทยเรารู้จักใช้ฟืนและถ่านไม้มาเป็นเวลานานแล้ว    โดยนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการหุงต้มเพื่อประกอบอาหาร แต่โดยที่การใช้ฟืนนั้นจะมีปัญหาทั้งด้านควันและความสกปรกที่มีมากกว่าถ่านไม้  จึงทำให้ผู้ที่ใช้ฟืนหันมาใช้ถ่านไม้กันมากโดยเฉพาะในส่วนของครัวเรือน แม้ต่อมาจะได้มีการเอาแก๊สมาใช้ในการหุงต้ม ซึ่งให้ความร้อนได้ดีกว่าถ่านไม้มาก  ทำให้การใช้ถ่านไม้ในครัวเรือนลดน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันการใช้ถ่านไม้ก็ยังคงมีบทบาทที่สำคัญอยู่ในครัวเรือนตามชนบท  และการทำอาหารประเภทปิ้งย่างในสังคมเมือง  ซึ่งนอกจากถ่านไม้จะได้มีการใช้ภายในประเทศแล้วยังเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้ประเทศพอสมควร

                1.1.2  กระทรวงพาณิชย์ได้เริ่มกำหนดมาตรการควบคุมการส่งออกถ่านไม้เป็นครั้งแรกตามพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 19) .. 2493 โดยมาตรการดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2493 เป็นต้นมา พระราชกฤษฎีกาฯ   (ฉบับที่ 19) .. 2493   นี้ เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมรายการสินค้าที่ควบคุมอยู่ก่อนแล้วตามพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 13) .. 2490  จากเดิม (5) "ฟืนทุกชนิด เว้นแต่ฟืนไม้โกงกาง" เป็น "ฟืนและถ่านไม้ทุกชนิด"

                พระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวข้างต้น เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักซึ่งสินค้าบางอย่าง พุทธศักราช 2482 และมีผลให้ถ่านไม้ทุกชนิดเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร มาตรการนี้จะไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว หรือในกรณีที่ยานพาหนะนำออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะนั้นๆ    หรือในกรณีที่นำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่างเท่าที่จำเป็น [1]

                1.1.3 ต่อมาเนื่องจากพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่างที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นมีอยู่ทั้งสิ้นรวม 13  ฉบับ   ซึ่งได้ควบคุมการส่งออกสินค้าไว้มากมายหลายรายการ กระทรวงพาณิชย์ (กระทรวงเศรษฐการในขณะนั้น) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์พอที่จะผ่อนคลายการควบคุมลงได้ และเพื่อให้การส่งออกสินค้าที่ควบคุมอยู่นั้นได้รับความสะดวกรวดเร็วในการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมนโยบายเพิ่มพูนสินค้าขาออกของประเทศต่อไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการจึงได้ออกประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง  การอนุญาตให้ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 กันยายน 2501  อนุญาตให้ส่งสินค้าที่ระบุไว้ตามพระราชกฤษฎีกาทั้ง 13 ฉบับดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักรได้ โดยไม่ต้องมีหนังสืออนุญาต เว้นแต่สินค้า 8 รายการ ที่ยังคงต้องขออนุญาตในการส่งออกอยู่ต่อไปตามเดิม ซึ่งสินค้าทั้ง 8 รายการที่ต้องขออนุญาตส่งออกดังกล่าวไม่มีถ่านไม้รวมอยู่ด้วย ดังนั้น ถ่านไม้ทุกชนิดจึงสามารถส่งออกได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตตั้งแต่นั้นมา

                1.1.4  ในปี 2522 กระทรวงพาณิชย์ได้มีพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.. 2522  ออกใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง พุทธศักราช 2482

                ในช่วงปี 2522-2523 ปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้มีราคาสูงจึงมีผลทำให้แก๊สหุงต้มมีราคาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของราคาเดิม ทำให้ผู้ใช้แก๊สบางรายต้องหันมาใช้ถ่านช่วยในการประกอบอาหาร อันเป็นผลทำให้ถ่านมีราคาสูงตามไปด้วย [2]  กระทรวงพาณิชย์จึงได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ 3 (.. 2522) ลงวันที่ 14  กันยายน 2522 กำหนดให้ถ่านไม้ทุกชนิดเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ยกเว้นกรณีที่สินค้าได้ผ่านพิธีการตรวจสอบสินค้าจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนวันประกาศนี้ใช้บังคับ หรือในกรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัวหรือในกรณีที่ยานพาหนะนำออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะนั้น ๆ เท่าที่จำเป็น [3]  ในการกำหนดมาตรการควบคุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการขาดแคลนถ่านไม้สำหรับใช้ภายในประเทศ และเพื่อเป็นการตรึงราคาสินค้ามิให้สูงขึ้นไปอีก

                โดยที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ฉบับที่ 3 (.. 2522) ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (1) แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า  พ.. 2522 ได้กำหนดให้ถ่านไม้ทุกชนิดเป็นสินค้าต้องห้ามในการส่งออก จึงส่งผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้ส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ๆ การอนุญาตให้ส่งออกจะกระทำได้โดยการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาตเป็นรายกรณีไป

                1.1.5  เนื่องจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับต่างประเทศมีความต้องการใช้ถ่านไม้ยางพาราซึ่งไม่เป็นที่นิยมใช้ภายในประเทศ ภายหลังจากที่ได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ฉบับที่ 3 (.. 2522) ออกใช้บังคับได้เพียงประมาณ 1 เดือน กระทรวงพาณิชย์จึงได้ปรับปรุงมาตรการใหม่เป็นการควบคุมโดยต้องขอรับใบอนุญาต โดยออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ 4 (.. 2522) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2522 กำหนดให้ถ่านไม้ทุกชนิดเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พร้อมกับได้จัดระเบียบในการอนุญาตให้ส่งออกตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดมาตรการจัดระเบียบในการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรฉบับที่ 3 (.. 2522) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2522 และต่อมาเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ผู้ขออนุญาตส่งออก กรมการค้าต่างประเทศได้กำหนดหลักฐานที่ต้องยื่นประกอบคำขออนุญาตส่งออกถ่านไม้ป่าชายเลน และถ่านไม้ยางพารา ตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ  เรื่อง การส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529 และในปี 2542 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตส่งออกถ่านไม้ยูคาลิปตัส  ตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ  เรื่อง การอนุญาตให้ส่งถ่านไม้ยูคาลิปตัสออกไปนอกราชอาณาจักร พ.. 2542  ลงวันที่  1  เมษายน 2542   ประกาศทั้ง   4  ฉบับ ดังกล่าวข้างต้นในข้อ 2.1.4   นี้ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ถึงปัจจุบัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในเรื่องขอบเขตการควบคุม

หลักเกณฑ์การอนุญาตและหลักฐานประกอบการพิจารณาต่อไป

1.2  ขอบเขตการควบคุม

                ถ่านไม้ทุกชนิด  เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ 4 (.. 2522) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2522 [4]  การส่งออกถ่านไม้จึงต้องมีใบอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ประกอบพิธีการส่งออก แต่มาตรการดังกล่าวไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้  (สามารถส่งออกได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต)

                        1) กรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว

                        2) กรณีที่ยานพาหนะนำออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะนั้น ๆ

                        3) กรณีที่นำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่างเท่าที่จำเป็น

                นอกจากจะมีข้อยกเว้นของมาตรการทั้ง 3 กรณีดังกล่าวข้างต้น ซึ่งได้ระบุไว้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ฉบับที่ 4 (.. 2522) แล้ว ในการจัดระเบียบการอนุญาตให้ส่งออกตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดมาตรการจัดระเบียบในการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ 3 (.. 2522) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2522 ได้กำหนดให้การส่งถ่านไม้ยางพาราออกไปนอกราชอาณาจักรทางด่านศุลกากรสะเดาและเบตง ให้ส่งออกไปได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นข้อยกเว้นของมาตรการเพิ่มขึ้นอีกกรณีหนึ่ง (แผ่นภาพที่ 2)

1.3  หลักเกณฑ์การอนุญาตและหลักฐานประกอบการพิจารณา (แผ่นภาพที่ 2)

                1.3.1  กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกำหนดมาตรการจัดระเบียบในการส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักรไว้ดังนี้ [5]

                        (1)  การส่งถ่านไม้ยางพาราออกทางด่านศุลกากรสะเดาและเบตง ให้ส่งออกได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์

                        (2)  การส่งออกถ่านไม้ชนิดอื่น หรือการส่งถ่านไม้ยางพาราออกทางด่านศุลกากรอื่นนอกเหนือจากด่านศุลกากรสะเดาและเบตง จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก่อน

                1.3.2  ถ่านไม้ที่ต้องขออนุญาตส่งออกตามข้อ 2.3.1 (2) ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้ส่งออกได้เพียง  4 ชนิด  คือ ถ่านไม้ป่าชายเลน ถ่านไม้ยางพารา ถ่านไม้ยูคาลิปตัสและถ่านขี้เลื่อยอัดแท่ง ส่วนถ่านไม้ชนิดอื่นยังไม่มีการอนุญาตให้ส่งออก

                1.3.3  ในการอนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ทั้ง 4 ชนิดดังกล่าวข้างต้น ผู้ขออนุญาตต้องแสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาดังนี้

                        (1)  ถ่านไม้ป่าชายเลน และถ่านไม้ยางพารา  ต้องแสดงหลักฐานการซื้อขายกับต่างประเทศ และใบเบิกทางจากกรมป่าไม้  [6]

                        (2)  ถ่านไม้ยูคาลิปตัส  ต้องแสดงหลักฐานการซื้อขายกับต่างประเทศ [7] และหนังสือรับรองถ่านไม้จากการเผาไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองจากกรม

ป่าไม้ [8]

                        (3)  ถ่านขี้เลื่อยอัดแท่ง  ต้องแสดงหลักฐานการซื้อขายกับต่างประเทศ [9] เพียงประการเดียวโดยไม่ต้องแสดงหลักฐานจากกรมป่าไม้ หรือหลักฐานจากส่วนราชการอื่นใด

ทั้งนี้เป็นแนวปฏิบัติ โดยจะพิจารณาอนุญาตให้ส่งออกเป็นการทั่วไปไม่จำกัดปริมาณ (ไม่มีประกาศหรือระเบียบกำหนดเรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตไว้)

1.4  ผู้มีอำนาจในการอนุญาต  (แผ่นภาพที่ 3)

                ด้วยประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ฉบับที่ 4 (.. 2522) ที่กำหนดมาตรการควบคุมการส่งออกถ่านไม้ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5(2) แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จึงมีอำนาจในการอนุญาตให้ส่งถ่านไม้ทุกชนิดที่ควบคุมออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ทั้งยังมีอำนาจในการมอบหมายให้ผู้อื่นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตแทน ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งกำหนดว่า เมื่อได้มีประกาศกำหนดสินค้าใดให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกหรือในการนำเข้าตามมาตรา 5(2) แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดส่งออกหรือนำเข้าซึ่งสินค้านั้น เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์    หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย”  โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายอำนาจการพิจารณาอนุญาตส่งออกถ่านไม้ให้แก่

                        (1)  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ [10]

                         (2) ผู้ว่าราชการจังหวัด (กระบี่ พังงา สตูล ตรัง) อนุญาตส่งออกเฉพาะถ่านไม้ป่าชายเลนและถ่านไม้ยางพารา [11]

                เพื่อเป็นการกระจายอำนาจหน้าที่ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้มอบหมายให้หน่วยงานของกรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ (เฉพาะถ่านไม้ยางพารา ถ่านไม้ป่าชายเลน ถ่านไม้ยูคาลิปตัส และถ่านขี้เลื่อยอัดแท่ง) [12]  ดังนี้

                        (1) สำนักบริหารการนำเข้าส่งออก (ปัจจุบันคือ สำนักบริการการค้าต่างประเทศ)

                        (2) สำนักงานการค้าต่างประเทศในส่วนภูมิภาคทุกแห่ง (เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี สงขลา และสระแก้ว)

1.5. สถิติการอนุญาตส่งออก

                1.5.1 ปริมาณและมูลค่าการส่งออก

                        ตามสถิติการอนุญาตส่งออกถ่านไม้ของกรมการค้าต่างประเทศ (ตารางที่ 1) ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ปรากฏว่าในปี 2541-2543 การส่งออกมีแนวโน้มลดลงโดยตลอด โดยในปี 2541 อนุญาตให้ส่งออกปริมาณ 3,843.96 ตัน มูลค่า 47.74 ล้านบาท ลดลงเหลือปริมาณ 1,057.45 ตัน มูลค่า 14.73 ล้านบาทในปี 2543 ในปี 2544 การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2543 โดยอนุญาตให้ส่งออกปริมาณ 1,762.49 ตัน มูลค่า 22.81 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 67  และร้อยละ 55 ของปริมาณและมูลค่าตามลำดับ แต่สำหรับในปี 2545  การส่งออกกลับมีแนวโน้มลดลงจากปี 2544 โดยอนุญาตให้ส่งออกปริมาณ 1,507.85 ตัน มูลค่า 20.46 ล้านบาท ลดลงจากปี 2544 ประมาณร้อยละ 14 และร้อยละ 10 ของปริมาณและมูลค่าตามลำดับ ซึ่งถ่านไม้ที่ส่งออกมากที่สุดได้แก่ ถ่านไม้ป่าชายเลน

 

ตารางที่ 1  สถิติการอนุญาตส่งออกถ่านไม้ (แยกตามชนิด)

ปริมาณ  ตัน
มูลค่า  ล้านบาท
ชนิด 2541 2542 2543 2544 2545
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ถ่านไม้ป่าชายเลน 2,337.32 30.03 2,007.96 23.41 782.36 11.06 1,655.22 20.85 1,315.08 19.04
ถ่านไม้ยางพารา - - - - - - - - 105.00 0.19**
ถ่านไม้ยูคาลิปตัส* - - 40.40 0.66 36.78 0.63 10.80 0.23 26.00 0.38
ถ่านขี้เลื่อยอัดแท่ง 1,506.64 17.71 844.17 8.75 238.31 3.04 96.47 1.73 61.77 0.85
รวม 3,843.96 47.74 2,892.53 32.82 1,057.45 14.73 1,762.49 22.81 1,507.85 20.46

ที่มา  :  สำนักมาตรการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ

หมายเหตุ  เริ่มอนุญาตให้ส่งออกเมื่อเดือนเมษายน 2542 ตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ  เรื่อง  การอนุญาตให้ส่งถ่านไม้ยูคาลิปตัสออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2542
  **     เป็นตัวเลขการอนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ยางพาราไปมาเลเซียของจังหวัดสตูล

 

                1.5.2 ตลาดส่งออก

                        ตามสถิติการอนุญาตส่งออกถ่านไม้  (ตารางที่ 2) ในปี 2545  ตลาดส่งออกถ่านไม้ที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น รองลงมาคือ ไต้หวัน และฮ่องกง โดยมีมูลค่า 14.09, 2.66, และ 1.53 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 68.87, 13.00 และ 7.48 ตามลำดับ

ตารางที่ 2  สถิติการอนุญาตส่งออกถ่านไม้ (รายประเทศ)

ปริมาณ  ตัน
มูลค่า  ล้านบาท
ประเทศ 2541 2542 2543 2544 2545
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ญี่ปุ่น 512.14 8.75 776.71 12.66 453.25 7.64 682.95 13.36 809.66 14.09
ไต้หวัน 614.57 6.28 596.80 5.56 197.37 2.26 528.00 6.35 241.02 2.66
ฮ่องกง 21.00 0.22 299.81 2.99 166.81 1.84 96.00 1.24 120.00 1.53
คูเวต 1,146.61 14.13 454.05 3.90 173.00 2.42 - - 77.00 0.91
เกาหลีใต้ 1,402.44 16.30 755.16 7.65 55.02 0.31 24.57 0.34 49.77 0.61
มาเลเซีย - - - - - - 381.47 1.04 186.40 0.40
ออสเตรเลีย - - - - 12.00 0.26 49.50 0.48 24.00 0.26
สิงคโปร์ 33.63 0.82 10.00 0.60 - - - - - -
อิตาลี 102.50 1.09 - - - - - - - -
เนเธอร์แลนด์ 11.07 0.15 - - - - - - -  
รวม 3,843.96 47.74 2,892.53

32.82

1,057.45 14.73 1,762.49 22.81 1,507.85 20.46
  ที่มา  :  สำนักมาตรการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ

 

ข้อสังเกต

                (1)  ถ่านไม้ป่าชายเลนที่อนุญาตให้ส่งออก (ตารางที่ 1) ส่วนใหญ่เป็นถ่านไม้ที่นำเข้ามาจากพม่า สำหรับป่าชายเลนในประเทศไทย  แม้ปัจจุบันจะยังไม่ได้ยกเลิกสัมปทานเช่นเดียวกับป่าบก  แต่รัฐบาลก็มีนโยบายไม่ให้ต่ออายุสัมปทาน ปัจจุบันจึงเป็นช่วงที่ผ่อนผันให้ทำได้จนครบอายุสัมปทาน จึงยังคงมีการเผาถ่านไม้ป่าชายเลนของประเทศไทยกันอยู่บ้าง

                (2) ในระยะที่ผ่านมาไม่เคยมีการอนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ยางพารา เนื่องจากหลักฐานที่กำหนดให้ผู้ขออนุญาตนำมาแสดงไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ซึ่งจะกล่าวต่อไป  เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานประกอบการพิจารณา สำหรับสถิติการส่งออกถ่านไม้ยางพาราในปี 2545 (ตารางที่ 1) เป็นสถิติการอนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ยางพาราไปมาเลเซียของจังหวัดสตูล ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาตได้ ตามหนังสือกระทรวงพาณิชย์ ด่วนมาก ที่ พณ 0305/5908 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2522 โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตกำหนดไว้เฉพาะถ่านไม้ป่าชายเลนที่ผู้ส่งออกต้องเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานและได้รับอนุญาตเก็บของป่า สำหรับถ่านไม้ยางพาราไม่ได้กล่าวถึงมีเพียงต้องแสดงหลักฐานการตกลงซื้อขายกับต่างประเทศ และในการพิจารณาอนุญาตให้คำนึงถึงปริมาณการผลิตและภาวะการขาดแคลน   หรือการที่ถ่านไม้ในจังหวัดมีราคาสูงเป็นหลักในการพิจารณา โดยควรจะอนุญาตให้ส่งออกได้ไม่เกินกำลังผลิตและราคาถ่านที่ส่งออกจะต้องไม่ต่ำเกินสมควร ซึ่งหลักเกณฑ์นี้จะมีความแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ที่ได้กำหนดขึ้นภายหลัง ตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529 ที่กำหนดให้การอนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ยางพาราต้องมีใบเบิกทาง โดยไม่ปรากหลักฐานว่าได้มีการพิจารณาทบทวนในเรื่องการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดให้สอดคล้องกับหลักฐานประกอบการพิจารณาที่กำหนดขึ้นใหม่นี้แต่อย่างใด

                (3)  การส่งออกถ่านไม้พิกัดฯ 44.02 ตามสถิติกรมศุลกากร (ตารางที่ 3) ปรากฏว่าในปี 2541-2543 การส่งออกมีแนวโน้มลดลง และในปี 2544 การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2543 เช่นเดียวกับการส่งออกตามสถิติการอนุญาตของกรมการค้าต่างประเทศ แต่สำหรับในปี 2545 การส่งออกตามสถิติกรมศุลกากรจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่างจากการอนุญาตส่งออกตามสถิติการอนุญาตของกรมการค้าต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งปริมาณและมูลค่าการส่งออกโดยรวมตามสถิติกรมศุลกากรในทุก ๆ ปี จะสูงกว่าสถิติการอนุญาตของกรมการค้าต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากตามพิกัดอัตราศุลกากรได้รวมถ่านไม้ และถ่านที่ทำจากเปลือกแข็งหรือนัตไว้ในพิกัดเดียวกัน ซึ่งถ่านบางชนิดไม่ได้อยู่ในข่ายควบคุมการส่งออก นอกจากนี้ถ่านไม้ยางพาราที่สามารถส่งออกทางด่านศุลกากรสะเดาและเบตงได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ก็รวมอยู่ในพิกัดเดียวกันนี้ด้วย

ตารางที่ 3  สถิติการส่งออกถ่านไม้พิกัดฯ 44.02 ของกรมศุลกากร

ปริมาณ  ตัน
มูลค่า  ล้านบาท
ประเทศ 2541 2542 2543 2544 2545
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ญี่ปุ่น 697.62 10.15 1,198.45 17.18 729.64 11.60 1,117.69 24.97 1,702.92

26.45

ไต้หวัน 557.02 5.81 508.02 4.81 197.37 2.13 552.00 6.15 253.02 2.82
ฮ่องกง 21.00 0.22 24,228.68 2.19 167.73 1.69 292.00 2.56 161.05 1.90
คูเวต 1,271.16 15.78 447.05 4.12 173.00 1.53 0.32 0.02 77.00 0.91
เกาหลีใต้ 569.16 6.50 984.73 8.52 57.20 0.31 101.22 1.15 67.06 0.63
มาเลเซีย 31.14 0.08 - - 396.36 1.23 467.60 1.33 295.88 0.79
ออสเตรเลีย - - 14.95 0.19 27.46 0.44 42.00 0.43 41.00 0.48
อื่น ๆ 1,396.68 12.79 3,119.75 21.49 186.64 0.79 136.23 2.40 1,265.82 10.14
รวม 4,543.78 51.33 30,501.63* 58.50

1,935.40

19.72 2,709.06 39.01 3,863.75 44.12
  ที่มา  :  กรมศุลกากร
หมายเหตุ -

 ตารางที่ 3 จะแสดงสถิติการส่งออกของกรมศุลกากรเฉพาะ 7 ประเทศที่กรมการค้าต่างประเทศได้อนุญาตให้ส่งถ่านไม้ออกไปในปี 2545 ตามตารางที่ 2

  - สินค้าพิกัดฯ 44.02 หมายถึง ถ่านไม้ (รวมถึงถ่านที่ทำจากเปลือกแข็งหรือนัต) จะเกาะหรือติดรวมกันหรือไม่ก็ตาม”  โดยถ่านไม้จะมีอยู่เพียงพิกัดเดียวและไม่มี ประเภทพิกัดย่อย ดังนั้นปริมาณและมูลค่าการส่งออกของกรมศุลกากรดังกล่าว   จึงเป็นสถิติการส่งออกรวมของทั้งถ่านที่อยู่ในข่ายควบคุมและไม่อยู่ในข่าย ควบคุมของกระทรวงพาณิชย์  ซึ่งโดยปกติจะต้องสูงกว่าสถิติการอนุญาตส่งออกของกรมการค้าต่างประเทศ แต่ปรากฎว่ามีปริมาณและมูลค่าการส่งออกตามสถิติ   ของกรมศุลกากรในบางปีของบางประเทศน้อยกว่าปริมาณและมูลค่าตามสถิติการอนุญาตของกรมการค้าต่างประเทศ เนื่องจากกรณีการได้รับใบอนุญาตไปแล้ว แต่ไม่ส่งออกหรือส่งออกไม่ครบตามใบอนุญาต และในช่วงดังกล่าวการส่งออกถ่านที่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมอาจมีไม่มากพอที่จะทำให้ปริมาณและมูลค่า การส่งออกสูงขึ้นได้
  -

*ตัวเลขปริมาณการส่งออกโดยรวมในปี 2542 น่าจะคลาดเคลื่อน เนื่องจากการส่งออกถ่านไม้เฉพาะในส่วนที่ไปฮ่องกงในปี 2541 ส่งออกปริมาณ   21  ตัน 

 มูลค่า  0.22  ล้านบาท  และปี 2543 ส่งออกปริมาณ 167.73 ตัน  มูลค่า 1.69 ล้านบาท  เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.48 บาท และ 10.08 บาท ตามลำดับ แต่ในปี 2542  มีปริมาณส่งออกสูงถึง 24,228.68 ตัน โดยมีมูลค่า 2.19 ล้านบาท เฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 0.09 บาท เท่านั้น

 

2. ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขมาตรการควบคุม

2.1 ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตการควบคุม

                2.1.1  เนื่องจากประกาศกำหนดมาตรการควบคุมการส่งออกได้กำหนดให้ถ่านไม้ทุกชนิดเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยไม่มีคำนิยามของถ่านไม้ที่ประสงค์จะควบคุมไว้ จึงก่อให้เกิดปัญหาในด้านการตีความ ซึ่งตามแนวปฏิบัติของกรมการค้าต่างประเทศที่ผ่านมาได้มีการตีความว่า ถ่านไม้ที่ควบคุมการส่งออกมีความหมายครอบคลุมถ่านไม้ทุกชนิด รวมถึงถ่านไม้ไผ่ ถ่านเศษไม้อัดแท่ง ถ่านขี้เลื่อยอัดแท่ง และรวมไปถึงถ่านที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย แต่ไม่รวมถึงถ่านกะลามะพร้าว และถ่านที่ได้จากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ถ่านที่ได้จากแกลบ ซังข้าวโพด เป็นต้น แม้ว่าจะได้มีแนวทางในการพิจารณาไว้แล้วดังกล่าวข้างต้น แต่ก็ยังอาจมีปัญหาในด้านความโปร่งใสสำหรับบุคคลภายนอกเพราะไม่มีประกาศแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน และยังมีประเด็นปัญหาของถ่านบางชนิดที่อาจจะมีความเห็นไม่ตรงกันได้ กล่าวคือ

                        (1)  กรณีถ่านอัดที่ประกอบด้วยวัสดุหลายชนิด หรือตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาทิ ถ่านอัดที่ประกอบด้วยกะลามะพร้าว เศษไม้ทั้งที่เป็นของป่าและไม้ที่ปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์ ผงถ่าน ขี้เลื่อย หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประสงค์จะผลิตและส่งออกถ่านประเภทนี้เป็นจำนวนมาก แต่มีปัญหาว่าจะอยู่ในข่ายควบคุมการส่งออกหรือไม่

                        (2) กรณีถ่านขี้เลื่อยอัดแท่ง แม้แนวปฏิบัติที่ผ่านมาจะตีความว่า เป็นสินค้าที่อยู่ในข่ายควบคุมการส่งออกด้วย แต่การตีความดังกล่าวดูจะมีลักษณะที่เคร่งครัดตามตัวอักษร เนื่องจากการผลิตถ่านจากขี้เลื่อยเป็นการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นสินค้าขึ้นใหม่ เศษวัสดุเหลือใช้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นผง   จึงไม่น่าจะมีความหมายเช่นเดียวกับไม้    ประกอบกับแนวปฏิบัติของกรมป่าไม้ถือว่าขี้เลื่อยอัดเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป ไม่ถือเป็นไม้และของป่าหวงห้าม อันจะต้องอยู่ในข่ายควบคุมในการนำเคลื่อนที่หรือครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 [13]

                2.1.2  การกำหนดให้ถ่านไม้ยางพาราที่ส่งออกด่านศุลกากรสะเดาและเบตง สามารถส่งออกได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต ซึ่งมีผลให้เกิดเป็นข้อยกเว้นของมาตรการควบคุมการส่งออกนั้น ทำให้มาตรการควบคุมไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะสามารถส่งออกได้ไม่จำกัดปริมาณโดยไม่มีการกำกับดูแล นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอื่นต้องขอใบอนุญาตในการส่งออกและไม่สามารถส่งออกได้  ซึ่งจะกล่าวต่อไปในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานประกอบการพิจารณา

2.2 ปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การอนุญาต

                2.2.1  หลักเกณฑ์การอนุญาตส่งออกถ่านไม้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากหลักเกณฑ์การอนุญาตตามระเบียบและแนวปฏิบัติในปัจจุบัน อนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ได้เพียง 4 ชนิด เท่านั้น คือ ถ่านไม้ป่าชายเลน ถ่านไม้ยางพารา ถ่านไม้ยูคาลิปตัส และถ่านขี้เลื่อยอัดแท่ง ทำให้ถ่านไม้ชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถส่งออกได้ ในขณะที่ปัจจุบันมีผู้ประสงค์จะส่งออกถ่านไม้ชนิดอื่น อาทิ ถ่านไม้ไผ่ ถ่านไม้เงาะ ถ่านไม้มะขาม รวมทั้งผงถ่านและถ่านอัด เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมีการกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตสำหรับถ่านไม้ชนิดอื่น โดยให้แสดงหลักฐานที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและไม่ยุ่งยากในทางปฏิบัติแล้ว ก็จะเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านนำวัสดุเหลือใช้มาทำประโยชน์ และนำรายได้เข้าประเทศได้เป็นจำนวนมากพอสมควร

                2.2.2  กรณีถ่านไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ การพิจารณาอนุญาตในปัจจุบันจึงยังต้องใช้หลักเกณฑ์เดียวกับถ่านไม้ภายในประเทศ ซึ่งถ่านไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศที่ขออนุญาตส่งออกขณะนี้เป็นประเภทถ่านไม้ป่าชายเลน ซึ่งใช้ใบเบิกทางเป็นหลักฐานประกอบการขออนุญาตส่งออก    แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นได้หากถ่านไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นถ่านไม้ชนิดอื่น เช่น ถ่านไม้ยูคาลิปตัส หลักฐานที่กรมป่าไม้จะออกให้ใช้ในการนำเคลื่อนที่สำหรับถ่านไม้ยูคาลิปตัสที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ คือใบเบิกทาง (รายละเอียดจะกล่าวต่อไปในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานประกอบการพิจารณาซึ่งจะไม่ใช่หนังสือรับรองถ่านไม้จากการเผาไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการขออนุญาตส่งออกถ่านไม้ยูคาลิปตัส

2.3 ปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานประกอบการพิจารณา

                เนื่องจากหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาอนุญาตส่งออกถ่านไม้จะอิงอยู่กับหลักฐานที่ใช้ในการนำเคลื่อนที่ของกรมป่าไม้ ดังนั้น หากจะกล่าวถึงเรื่องปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานประกอบการพิจารณา จึงควรทราบถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการออกหลักฐานที่ใช้ในการนำเคลื่อนที่ถ่านไม้ของกรมป่าไม้ก่อนโดยสังเขป ดังนี้

                        (1)  ถ่านไม้ที่เกิดหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ รวมถึงถ่านไม้ที่บุคคลทำขึ้นด้วย เป็นของป่าตามมาตรา   7  แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 [14]   การนำของป่าเคลื่อนที่จะต้องมีใบเบิกทางกำกับไปด้วย [15]   ซึ่งนอกจากกรมป่าไม้จะออกใบเบิกทางให้สำหรับถ่านไม้ที่ได้จากป่าธรรมชาติแล้ว ยังต้องออกใบเบิกทางให้กับถ่านไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย ตามมาตรา  38(3) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 [16] (กำหนดไว้เฉพาะแหล่งที่มา ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นถ่านไม้ป่าชายเลน หรือถ่านไม้ยูคาลิปตัสที่นำเข้าจากต่างประเทศก็ต้องออกเป็นใบเบิกทาง)

                        (2)  นอกจากจะได้มีการนำไม้ในป่าธรรมชาติมาใช้ในการเผาถ่านแล้ว ปัจจุบันไม้ที่ได้จากการตัดสางขยายระยะตลอดจนกิ่งไม้ และต้นไม้ในสวนของตนเอง ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเผาถ่านกันมากขึ้น แต่ด้วยการที่เป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเมื่อนำมาเผาเป็นถ่านจึงไม่ใช่ของป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 กรมป่าไม้จึงไม่สามารถออกใบเบิกทางเพื่อควบคุมในการนำเคลื่อนที่ได้ และด้วยตัวของถ่านไม้เองไม่สามารถที่จะบ่งบอกแหล่งที่มาได้ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนอยู่เสมอ กรมป่าไม้จึงได้มีหนังสือที่ กษ.0704.03/6597 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2537 แจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ออกหลักฐานที่ใช้ในการนำเคลื่อนที่เป็นหนังสือรับรองถ่านไม้จากการเผาไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์  หรือสิทธิครอบครอง  (นอกจากไม้สักและไม้ยางแทน ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและคุ้มครองผู้สุจริต  ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการปลูกป่าของเอกชนตามนโยบายของรัฐบาลด้วย การออกหนังสือรับรองนี้มิใช่เป็นภาคบังคับแต่ดำเนินการไปตามที่มีผู้ประสงค์จะขอให้ทางราชการออกให้  โดยมีเจ้าหน้าที่ 3  หน่วยงานเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริง   ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ที่ดิน และเจ้าหน้าที่ป่าไม้

                        (3) เพื่ออำนวยความสะดวกในธุรกิจการค้าสำหรับไม้ที่ปลูกขึ้น กรมป่าไม้ได้ขอแก้ไขพระราชบัญญัติสวนป่า พ.. 2535 ให้ครอบคลุมถึงไม้ทุกชนิดไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะที่เป็นไม้หวงห้ามเท่านั้น การแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากสามารถดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติสวนป่า พ.. 2535ได้สำเร็จ ในอนาคตอาจจะมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการนำเคลื่อนที่ถ่านไม้ที่ได้จากการทำสวนป่า โดยการนำเคลื่อนที่ถ่านไม้ดังกล่าวไม่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ผู้ทำสวนป่าจะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองและบัญชีแสดงรายการกำกับไปด้วย [17]

                        สำหรับขี้เลื่อยอัด  ถ่านอัดจากเศษถ่าน  ถ่านอัดจากเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรกรมป่าไม้ถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูป ไม่ถือเป็นไม้และของป่าที่จะต้องควบคุมในการนำเคลื่อนที่ [18]

                        จากหลักฐานที่ใช้ควบคุมการนำเคลื่อนที่ถ่านไม้ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าเน้นไปที่แหล่งที่มาของถ่านไม้เป็นเกณฑ์ แต่หลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ส่งออกของกระทรวงพาณิชย์จะกำหนดโดยแยกไปตามชนิดของถ่านไม้  สำหรับประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานประกอบการพิจารณา มีดังนี้

                2.3.1 การกำหนดให้ผู้ขออนุญาตส่งออกถ่านไม้แสดงหลักฐานใบเบิกทาง หรือหนังสือรับรองถ่านไม้จากการเผาไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง โดยอนุญาตให้ส่งออกได้ไม่จำกัดปริมาณนั้น   แม้จะเป็นเรื่องที่ถูกต้องในอันที่จะป้องกันการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติก็ตาม แต่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการควบคุมถ่านไม้ที่ได้ควบคุมเพื่อป้องกันการขาดแคลน หรือตรึงราคาสินค้า

                2.3.2  กรณีของถ่านไม้ยางพารา  หลักฐานที่กำหนดให้ผู้ขออนุญาตนำมาแสดงไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง  เพราะได้กำหนดให้ต้องแสดงใบเบิกทาง   แต่ด้วยไม้ยางพาราในปัจจุบันโดยทั่วไปจะเป็นไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง เมื่อนำมาใช้ในการเผาถ่าน กรมป่าไม้จะไม่ออกใบเบิกทางให้เพราะไม่ใช่ของป่า ทำให้ไม่สามารถขออนุญาตส่งออกถ่านไม้ยางพาราได้ นอกจากจะนำไปส่งออกทางด่านศุลกากรสะเดาและเบตง ซึ่งสามารถส่งออกได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต  ทำให้ผู้ประกอบการในภาคอื่นและภาคใต้ตอนบนต้องมีภาระต้นทุนด้านการขนส่ง อีกทั้งทำให้ต้องขายผ่านประเทศมาเลเซีย ซึ่งในบางครั้งสินค้าจะถูกบรรจุหีบห่อใหม่และแสดงแหล่งกำเนิดเป็นสินค้าของมาเลเซีย ผู้ส่งออกของไทยจึงถูกกดราคาและเสียผลประโยชน์ให้กับนายหน้า

2.4 แนวทางแก้ไขมาตรการควบคุม

                จากการที่กรมการค้าต่างประเทศได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    เพื่อพิจารณาทบทวนมาตรการควบคุมการส่งออกถ่านไม้ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2545 และวันที่ 23 มกราคม 2546 ที่ประชุมได้มีมติเห็นควรให้แก้ไขปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การอนุญาตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้

                2.4.1 ให้ควบคุมการส่งออกถ่านไม้ทุกชนิดต่อไป โดยกำหนดให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร  มาตรการควบคุมดังกล่าวให้รวมถึงถ่านไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศและถ่านไม้ที่ได้จากวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ในป่าธรรมชาติมาเผาถ่าน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

                2.4.2 กำหนดขอบเขตสินค้าที่ควบคุมให้ชัดเจน โดยไม่ให้รวมถึงถ่านขี้เลื่อยอัด ถ่านอัดจากเศษถ่าน ถ่านอัดจากเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ถ่านกะลามะพร้าว และผงถ่าน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ และป้องกันปัญหาการตีความ

                2.4.3 ให้คงข้อยกเว้นในกรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว กรณีที่ยานพาหนะนำออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะนั้น ๆ    และกรณีที่นำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่างเท่าที่จำเป็น ไว้เช่นเดิม เนื่องจากเป็นการส่งออกที่มิใช่เพื่อการค้า ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อมาตรการควบคุม

                2.4.4 ให้ยกเลิกข้อกำหนดที่ให้มีการส่งถ่านไม้ยางพาราออกทางด่านศุลกากรสะเดาและเบตงได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต เพราะข้อกำหนดดังกล่าวจะทำให้มาตรการควบคุมไม่สัมฤทธิผล

                2.4.5  ควรกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตส่งออกให้สอดคล้องกับภาวะการผลิตและการค้าในปัจจุบัน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตส่งออกให้ครอบคลุมถ่านไม้ได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะได้จากการเผาไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์/สิทธิครอบครอง หรือที่ดินซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการให้ใช้ประโยชน์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งถ่านไม้ที่มีหลักฐานแสดงว่าได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ถ่านไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ หรือถ่านที่ได้จากวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ   3.4.6 ควรกำหนดเอกสาร/หลักฐานประกอบคำขออนุญาตส่งออกให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและสามารถปฏิบัติได้ กล่าวคือ ให้ใช้หลักฐานควบคุมในการนำเคลื่อนที่เป็นหลักฐานประกอบคำขออนุญาตส่งออก ซึ่งได้แก่ ใบเบิกทางนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ หรือหนังสือรับรองถ่านไม้จากการเผาไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง (ยกเว้นไม้สักและไม้ยาง) รวมทั้งเอกสารอื่นใดที่ทางราชการกำหนดให้ใช้ในการควบคุมการนำเคลื่อนที่ถ่านไม้

ข้อสังเกต

                (1)  การกำหนดกรอบสินค้าที่จะควบคุมให้ชัดเจนเป็นสิ่งที่ถูกต้องและจำเป็น เพื่อความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติและบุคคลภายนอก ซึ่งเป้าหมายของแนวทางในการแก้ไขมาตรการควบคุมมุ่งเน้นที่จะควบคุมเฉพาะถ่านที่ทำจากไม้ ไม่ว่าจะเป็นไม้ชนิดใดหรือจะมีขนาดเท่าใดก็ตาม ซึ่งเป็นถ่านไม้ที่ใช้เพื่อให้ความร้อนในการหุงต้มอาหารกันโดยปกติทั่วไป แต่ไม่ต้องการที่จะให้การควบคุมขยายกว้างออกไปถึง ผงถ่าน ถ่านอัด (ไม่ว่าจะทำจากสิ่งที่มาจากไม้หรือมีวัสดุอื่นผสมอยู่ด้วย) และสิ่งที่ให้ความร้อนซึ่งโดยทั่วไปเรียกกันว่าถ่าน แต่ไม่ได้ทำมาจากไม้ เช่น แท่งเชื้อเพลิงเขียวที่ทำจากชานอ้อยและขุยมะพร้าว ถ่านที่ได้จากเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร (แกลบ ซังข้าวโพด) และถ่านกะลามะพร้าว เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะมีปัญหาในทางปฏิบัติทั้งการตรวจพิสูจน์ชนิดของไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ หลักฐานที่จะใช้ประกอบการพิจารณา และการตีความ ดังนั้นในการที่จะยกร่างข้อยกเว้นของถ่านไม้ตามมติที่ประชุมเพื่อกำหนดกรอบของมาตรการที่จะควบคุม   โดยให้เข้าใจถึงความหมายที่ตรงกันค่อนข้างจะต้องใช้ความระมัดระวังและความละเอียดพอสมควร   เนื่องจากข้อยกเว้นนี้จะมีอยู่ 3  กลุ่ม  กล่าวคือ

                -  กลุ่มแรก เป็นสินค้าที่มาจากไม้หรือเศษวัสดุเหลือใช้จากไม้  เช่น  ผงถ่าน (การนำถ่านไม้มาบดหรือผงที่เป็นเศษเหลือใช้จากการเผาถ่าน) ขี้เลื่อยอัดแท่ง

                -  กลุ่มที่ 2  เป็นสินค้าที่มาจากไม้และอาจมีวัสดุที่ไม่ใช่ไม้ผสม เช่นถ่านอัดต่างๆ

กลุ่มที่ 3 เป็นสินค้าที่ไม่ได้มาจากไม้ ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ใช่ถ่านไม้ตามชื่อของสินค้าที่ควบคุมอยู่แล้ว เช่น ถ่านจากเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร และถ่านกะลามะพร้าว

                (2)  แม้ผู้ที่มีที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองจะสามารถไปขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าได้   และสามารถใช้หลักฐานหนังสือรับรองผู้ทำสวนป่าประกอบการพิจารณาขออนุญาตส่งออกถ่านไม้   (แนวทางแก้ไขที่ปรับปรุงมาตรการใหม่  เอกสารอื่นใดที่ทางราชการกำหนดให้ใช้ในการควบคุมการนำเคลื่อนที่ถ่านไม้”) แต่หลักฐานหนังสือรับรองถ่านไม้จากการเผาไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ซึ่งทางราชการออกให้นั้น ก็ควรยังต้องให้คงมีไว้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้ไปขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าหรือเจ้าของสวนผลไม้ เช่น สวนเงาะ สามารถนำไม้ที่ปลูกในที่ดินของตนมาเผาถ่าน และมีหลักฐานประกอบการพิจารณาขออนุญาตส่งออก 

 

3. ผลกระทบจากการแก้ไขมาตรการที่มีต่อแนวโน้มการค้าถ่านไม้

                การปรับปรุงแก้ไขมาตรการและหลักเกณฑ์การอนุญาตส่งออกถ่านไม้ตามมติที่ประชุมในบทที่ 3 จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาการผลิตและการค้าถ่านหลายประเภท ในขณะเดียวกันการส่งออกถ่านไม้บางประเภทอาจจะมีภาระขั้นตอนเพิ่มขึ้นบ้าง ดังนี้

3.1  ผลดี

                3.1.1  การกำหนดกรอบสินค้าที่ควบคุม  ทำให้ผู้ส่งออกเข้าใจถึงเป้าหมายของภาครัฐได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในทางการค้าได้

                3.1.2  ทำให้การค้าถ่านไม้ขยายตัวได้กว้างขึ้น และแนวโน้มการส่งออกจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากอนุญาตให้ส่งออกถ่านไม้ได้ทุกชนิดไม่จำกัดไว้เพียง 4 ชนิด (ถ่านไม้ป่าชายเลน ถ่านไม้ยางพารา ถ่านไม้ยูคาลิปตัส  และถ่านขี้เลื่อยอัดแท่ง) ตามที่เคยปฏิบัติ

                3.1.3  ผู้ส่งออกสามารถนำหลักฐานมาแสดงได้สะดวก   สามารถปฏิบัติได้จริง อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง

                3.1.4  ก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบกิจการถ่านไม้ยางพาราในภาคอื่นให้สามารถส่งออกสินค้าของตนได้ โดยไม่ต้องนำไปส่งออกแต่เฉพาะที่ด่านศุลกากรสะเดาและเบตงตามที่เคยปฏิบัติ

                3.1.5  การแก้ไขมาตรการควบคุมการส่งออกถ่านไม้  จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการปลูกสร้างสวนป่าตามนโยบายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น เพราะนอกจากเจ้าของสวนจะได้ผลประโยชน์จากต้นไม้แล้ว ยังสามารถนำกิ่งไม้จากการตัดสางขยายระยะต้นมาก่อให้เกิดประโยชน์โดยเผาเป็นถ่านส่งออกได้

                นอกจากการแก้ไขมาตรการควบคุมการส่งออกจะมีผลดีต่อการค้าถ่านไม้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว    ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้มีผู้คิดค้นและพัฒนาการผลิตถ่านจากวัสดุอื่นที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านอัดจากเศษวัสดุเหลือใช้การเกษตร ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้โดยไม่ติดขัดในเรื่องมาตรการควบคุม ซึ่งในอนาคตอาจเป็นที่นิยมนำมาใช้แทนถ่านไม้ได้

3.2  ผลเสีย

                3.2.1 เป็นการเพิ่มขั้นตอนให้ผู้ส่งออกถ่านไม้ยางพาราทางด่านศุลกากรสะเดาและเบตงต้องมาขออนุญาตส่งออก

                3.2.2  การกำหนดให้ถ่านอัด และผงถ่านเป็นสินค้าที่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมการส่งออก แม้จะเป็นประโยชน์โดยรวมก็ตาม แต่ก็ก่อให้เกิดช่องว่างของมาตรการได้ เนื่องจากผู้ที่ไม่มีหลักฐานการนำเคลื่อนที่ถ่านไม้มาแสดงประกอบการขออนุญาต เพราะเข้าไปลักลอบตัดไม้ในป่าธรรมชาติ หรือพอจะหาหลักฐานมาแสดงได้แต่ค่อนข้างยุ่งยากและลำบาก เช่น การเข้าไปรับซื้อเศษไม้จากโรงงานอุตสาหกรรมหรือชาวบ้านทั่วไปมาเผาเป็นถ่าน  ก็ยังสามารถส่งออกได้โดยนำถ่านไม้มาบดให้เป็นผงแล้วจะอัดเป็นก้อนหรือไม่ก็ตาม จะเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต แต่กรณีนี้คงมีได้เฉพาะที่ผู้ซื้อต้องการสินค้าในลักษณะเป็นผงเท่านั้น เนื่องจากสินค้าได้เปลี่ยนสภาพไปโดยไม่สามารถทำกลับให้คืนสู่สภาพเดิมได้

 -----------------------------------------------------------------

[1] ข้อยกเว้นตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 13) .. 2490

[2] ชวลิต  อุรพีพัฒนพงศ์  การศึกษาเศรษฐกิจ การผลิต การจำหน่ายและการบริโภคถ่าน ปี 2525 หน้า 57

[3] มีข้อสังเกตว่า ข้อยกเว้นดังกล่าวไม่มีกรณีนำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่างเท่าที่จำเป็น

[4] รายละเอียดในภาคผนวก

[5] รายละเอียดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์  เรื่อง กำหนดมาตรการจัดระเบียบในการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ฉบับที่ 3   (.. 2522) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2522 ในภาคผนวก

[6] รายละเอียดตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529  ในภาคผนวก

[7] เป็นหลักฐานที่ต้องแนบมาพร้อมกับคำร้องขอรับใบอนุญาตตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (.. 2523) ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2523   ในข้อ 4(3)

[8] รายละเอียดตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การอนุญาตให้ส่งถ่านไม้ยูคาลิปตัสออกไปนอกราชอาณาจักร พ.. 2542    ลงวันที่ 1 เมษายน 2542 ในภาคผนวก

[9] ข้อความเดียวกับ 7  

[10] ตามบันทึกด่วนมาก ที่ 0306/4066 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 เรื่อง การมอบอำนาจให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้อนุญาตให้ ส่งออกและนำเข้าซึ่งสินค้าที่ควบคุม

[11] ตามหนังสือกระทรวงพาณิชย์ด่วนมาก ที่ พณ 0305/5906-5909 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2522

[12] ตามคำสั่งกรมการค้าต่างประเทศ ที่ 127/2542 เรื่อง มอบหมายให้บริหารการออกหนังสือสำคัญ และหนังสือรับรอง ลงวันที่ 29  กันยายน 2542 [เป็นการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 มาตรา 38(7)

[13] ระเบียบกรมป่าไม้ ฉบับที่ 2/2529 เรื่อง การผลิต และการนำขี้เลื่อยอัดและถ่านอัดเคลื่อนที่ ลงวันที่ 18 มีนาคม 2529 และหนังสือ  กรมป่าไม้ที่ กษ 0708/23946 ลงวันที่ 20 กันยายน 2542

[14] แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) .. 2518

[15] มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

[16] ความในมาตรา 38 เดิมได้ถูกยกเลิกโดยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) .. 2518 และให้ใช้ความใหม่แทน

[17] ขณะนี้ยังคงเป็นเพียงร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่..) .. ....

[18] ระเบียบกรมป่าไม้ ฉบับที่ 2/2529 เรื่อง การผลิต และการนำขี้เลื่อยอัดเคลื่อนที่ ลงวันที่ 18 มีนาคม 2529 และหนังสือกรมป่าไม้   ที่ กษ 0708/23946 ลงวันที่ 20 กันยายน 2542

ที่มา : รายงานสรุปผลการประชุมหารือระหว่างศุลกากรสหรัฐฯ-ศุลกากรไทย-สมาคม BSAA และ สภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือฯ

นายพีรเชษฐ์   คงรินทร์

สำนักมาตรการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป

กรมการค้าต่างประเทศ

พฤษภาคม  2546

 



WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com