สาระความรู้ของถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::



ถ่านอัดแท่งจากแกลบ

 แกลบเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว ซึ่งมีค่าความร้อนเฉลี่ยสูงถึง 3880 กิโลแคลอลี่/กก. แต่เนื่องจากแกลบมีความหนาแน่นต่ำ การใช้ เป็นเชื้อเพลิง จึงอยู่ในขอบเขตจำกัดเนื่องจากค่าขนส่งสูง ทางหนึ่งที่จะทำให้แกลบใช้เป็นเชื้อเพลิงเป็นไปได้ในทางการค้าคือ การนำแกลบมาอัด เป็นแท่งฟืน สถาบันวิจัวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาความคุ้มทุนของการอัดแกลบให้เป็นแท่ง โดยใช้เครื่องอัดที่ผลิต จากไต้หวันทำการทดลองผลิต ณ โรงสีข้าวประจักษ์ ธัญญผล จ.ฉะเชิงเทรา โดยมุ่งหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิต ได้แก่ปริมาณความชื้น ที่เหมาะสมของแกลบ,อุณหภูมิของการอัดแกลบ , การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักและความหนาแน่น, ระยะเวลาของการอัดแท่ง และ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้
จากการศึกษาทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตคือ ความชื้นของแกลบที่ใช้อัดต้องอยู่ในช่วง 8 - 12%,อุณหภูมิของการอัดอยู่ใน ระหว่าง 260-300 องศาเซลเซียส น้ำหนักแกลบลดลงหลังการอัด 6.4% และความหนาแน่นเฉลี่ยของแท่งฟืนแกลบสูงถึง 1326 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร สำหรับฟืนแท่งที่มีความยาว 50 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม ใช้เวลาอัด 1.02 นาที และใช้กำลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 0.173 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ต่อแท่ง
ปัญหาที่สำคัญในการผลิตคือ การสึกกร่อนของเกลียวอัด ซึ่งมีอายุการใช้งานในการอัดแกลบประมาณ 4000 กิโลกรัม ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้นำไปใช้ เป็นพื้นฐานในการคำนวนอัตราตอบแทนการลงทุน
การผลิตฟืนจากแกลบสามารถผลิตได้ 564000 แท่งต่อปี จากโรงงานขนาด 4 เครื่องอัด ต้องลงทุนประมาณ 648000 บาท ถ้าจำหน่ายราคาฟืนจากแกลบเป็น 1.0 บาทต่อแท่ง จุดคุ้มทุนของการผลิตจะอยู่ประมาณ 63% ของกำลังการผลิต และผลตอบแทนการ ลงทุนเป็น 42% ต่อปี สำหรับระยะเวลาคืนทุน 5 ปี ซึ่งอัตรา ตอบแทนการลงทุนจะผันแปรตามองค์ประกอบต่างๆ ของการผลิต และราคา จำหน่าย พบว่า ราคาแกลบมีอิทธิพลต่อความคุ้มทุนมากที่สุด ที่อัตราการตอบแทน 30% ราคาแกลบต้องไม่เกิน 82.00 บาท/ตัน ซึ่งหมายถึงว่า การผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบในเชิงการค้าเป็นไปได้ เมื่อโรงงานผลิตตั้งอยู่ใกล้โรงสีข้าว

1.บทนำ

- 1.1 แนวความคิดพื้นฐาน
สภาวะการณ์ด้านพลังงาน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่วิกฤตต่อภาวะเศรษกิจ และสังคมของประเทศ อาจพิจารณาแบ่งออกได้เป็น 2 ปัญหาใหญ่ๆ คือ ปัญหาราคาน้ำมัน การที่น้ำมันมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษกิจและสังคม ของประเทศอย่างมาก ก็ในเมื่อประเทศไทยเป็น ประเทศที่กำลังพัฒนา ปริมาณความต้องการของพลังงานจึงมีมากขึ้น และพลังงานที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบ ซึ่งต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะนำก๊าซ ธรรมชาติขึ้นมาใช้ได้ก็ตาม แต่ก็สามารถทดแทนน้ำมันได้เพียงบางส่วน และจะบรรเทาปัญหาไปได้เพียงระยะ เวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะปริมาณความต้องการพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
อีกปัญหาหนึ่งก็คือ ขาดแคลนฟืนและถ่านไม้ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับชาวชนบทผู้มีรายได้น้อยในเมือง และสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม หลายๆประเภท ปัญหานี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม และการขาดแคลนไม้เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลายโดยที่ มิได้ปลูกขึ้นทดแทน ในขณะเดียวกันการขึ้นราคาน้ำมันได้ทำให้ราคาฟืนและถ่านไม้มีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
สภาวะการพลังงานดังกล่าวเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อ เสถียรภาพทางเศรษกิจของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ปัญหาโดยใช้มาตรการ ทั้งในด้าน อุปทาน และ อุปสงค์ เช่น ลดการใช้น้ำมันลง ในขณะเดียวกันต้องกระจากฐานแหล่งพลังงานให้กว้างขึ้น เพื่อให้ประเทศพึ่งตนเองได้มากยิ่ง ขึ้น แทนการผูกพันอย่างแนบแน่นกับน้ำมันเช่นที่แล้วมา
ทรัพยากรพลังงานที่มีอยู่ในประเทศที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้แ่ก่ วัสดุเหลือใช้ และทิ้งเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น แกลบ ขี้เลื่อย กากอ้อย เปลือกถั่ว ขุยมะพร้าว และ ลิกไนต์ป่น เป็นต้น วัสดุเหลือใช้นี้บางอย่าง เช่น แกลบ กากอ้อย ได้ถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิง ในอุตสาหกรรม บางประเภท แต่ในหลายท้องที่ ยังเป็นวัสดุเหลือทิ้งที่เป็นปัญหาแก่โรงงานผู้ผลิตในการกำจัด ในปี พศ.2522/2523 ปริมาณแกลบทั้งหมดที่ผลิตได้มีมากถึง 3.49 ล้านตันซึ่ง คิดเป็นพลังงานความร้อนได้ 13553*10^9 กิโลแคลอรี่ (ที่แกลบมีค่าความร้อน 3880 กิโลแคลอลี่/กก.)
อย่างไรก็ตาม การนำวัสดุเหลือทิ้งเช่นแกลบมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนั้น ต้องนึกถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวของแกลบด้วยเช่น การเผาไหม้เป็นไปอย่าง รวดเร็วทำให้ควบคุมได้ยาก มีความหนาแน่นต่ำ ซึ่งต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บมาก และเสียค่าขนส่งสูง ทำให้การใช้เป็นเชื้อเพลิงอยู่ในขอบเขตที่ จำกัด การนำมาอัดเป็นก้อน หรือเป็นแท่งในรูปของฟืนเพื่อใช้ทดแทนฟืนไม้ หรือผลิตเป็นถ่านจะทำให้การใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงมีทางเป็นไปได้ ในทางปฎิบัติมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการค้า

- 1.2 วัตถุประสงค์และขอบเขตของการศึกษา
เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในทางปฎิบัติของการผลิจเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบโดยคำนึงถึงอัตราผลของการตอบแทนของการลงทุน และประเมิน ปัญหาทางเทคนิคในการผลิต เพื่อหาทางแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิต และเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศอีก ด้วย
การดำเนินโครงการนี้ประกอบไปด้วย การสำรวจรวบรวมข้อมูลและการทดลองทั้งในห้องปฎิบัติการณ์และภาคสนาม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ปัญหาทางเศรษศาสตร์และวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หาข้อสรุปเกี่ยวกับความเหมาะสมของการผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบในทางการค้า

2.อุปทานของแกลบ

- 2.1 ผลผลิตแกลบ
แกลบเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว ดังนั้น ปริมาณของแกลบจึงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณข้าวที่ผลิตได้ในปี พ.ศ.2522/2523 ปริมาณผลผลิตข้าวทั้งประเทศมี 14.65 ล้านตัน ซึ่งเป็นผลผลิตจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงถึง 38.48% รองลงมาคือภาคเหนือ 29.12% ภาคกลาง 24.98% และภาคใต้น้อยที่สุดเพียง 7.42% ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีทรัพยากรป่าไม้ค่อนข้างน้อยแต่ ปริมาณแกลบมากที่สุด ดังนั้นการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงจึกน่าจะมีศักยภาพสูงที่สุดในภาคนี้
โดยทั่วไปปริมาณแกลบที่ได้จากการสีข้าว จะอยู่ระหว่าง 22.5%-25.2% ของปริมาณข้าวเปลือกโดยน้ำหนัก ดังนั้นถ้าหากใช้อัตราการผลิต แกลบ 23.85% จะคำนวนได้ว่าในปี พ.ศ. 2522/2523 แกลบทั้งประเทศจะมีปริมาณมากถึง 3.49 ล้านตันซึ่ง สามารถใช้เป็นวัตถุ ดิบเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงแข็งแทนฟืนหรือถ่านไม้ได้อย่างเพียงพอ

- 2.2 คุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงของแกลบ
แกลบมีคุณสมบัติในด้านเชื้อเพลิงไม่ต่างจากไม้มากนัก แต่การใ้ช้เป็นเชื้อเพลิงของแกลบมีข้อเสียเล็กน้อยเช่น เมื่อทำการเผาไหม้แล้วแกลบให้ ปริมาณเถ้าถึง 17.4% ซึ่งมากกว่าไม้ถึง 7 เท่า แต่ขี้เข้าของแกลบสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างหรือ ผงขัดได้ นอกจากนี้แกลบมีค่า ความหนาแน่นเฉลี่ยเพียง 106 กก./ม.^3 และค่าความร้อนเฉลี่ยของแกลบเป็น 3880 กิโลแคลอรี่/กก. ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยความร้อน ของไม้ฟืน คือ 4475 กิโลแคลอรี่/กก. ปัญหาทั้งสองข้อนี้ได้ทำให้การวิเคราะห์ความเหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากแกลบมีความ สำคัญมากขึ้น เพราะการนำแกลบมาอัดเป็นแท่งจะทำให้ค่าความหนาแน่นของแกลบ สูงขึ้นและทำให้ค่าความร้อนต่อหน่วยลูกบาศก์เมตรเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกัน

- 2.3 การใช้ประโยชน์จากแกลบ
การใช้ประโยชน์ของแกลบในประเทศส่วนใหญ่ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงสีขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ และยังใช้เป็นเชื้อ เพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงานกระดาษ โรงงานเผาอิฐ เป็นต้น แต่ปริมาณการใช้ัยังมีค่อนข้างน้อย นอกจากนี้แกลบยังเป็น ประโยชน์ในด้านวัสดุดิบอุตสาหกรรมและการเกษตร เช่น ทำอิฐผนังกั้นห้อง ถ่านฟอกสี ผงขัด สารดูดซึมน้ำมัน วัสดุฉนวนในอุตสาหกรรมเหล็ก ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารสัตว์ เป็นต้น

- 2.4 ราคาของแกลบ
แกลบเป็นวัสดุเชื้อเพลิงที่มีสภาวะตลาดไม่สู้ดีนัก ทั้งนี้เพราะการใช้เป็นปริมาณมากต้องเสีย ค่าขนส่งแพงกว่าไม้จึงทำให้การใช้งานจำกัดเฉพาะ ในโรงสี และบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น จากการสำรวจข้อมูล ราคาการซื้อขายแกลบ ไม่แน่นอน และไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ตลอดจนระยะห่างระหว่าง แหล่งที่ตั้งของโรงสี กับสถานที่ที่ใช้งาน บางฤดูโรงสีต้องขนแกลบไปเผาทิ้งนอกโรงงาน มีโรงสีที่พอจะขายแกลบได้ในย่านจังหวัด กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และปทุมธาณี ขายแกลบได้ในราคา ตันละ 50-60 บาท(พ.ศ. 2522 / 2523)

- จากการศึกษาวิเคราะห์ สรุปได้ว่า แกลบมีอุปทานพอเพียงในการผลิต เป็นเชื้อเพลิงแข็งเพื่อใช้แทนฟืนแต่การมีการ ผันแปรตามฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวบ้าง สำหรับราคาแกลบไม่น่าจะมีปัญหา เพราะอุปสงค์น้อยกว่าอุปทานมาก หากจำเป็นต้องกักตุนแกลบไว้เพื่อการผลิตฟืนแกลบเป็นการค้า เงินทุนจมที่ใช้เพื่อการซื้อแกลบจะไม่สูงมากนัก
ที่มา วิศวกรรมสาร / กุมภาพันธ์ 2525



WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com