การผลิตถ่านเศรษฐกิจจากซังข้าวโพดจังหวัดพะเยา
:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::



การผลิตถ่านเศรษฐกิจจากซังข้าวโพด

อัญชนา ทองระย้า
จากการที่รัฐบาลมีนโยบาย ให้มีการสร้างงานขึ้นภายในชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ถือได้ว่า เป็นโครงการที่ส่งเสริมรายได้ ให้เกิดขึ้นภายในชุมชน ถึงวันนี้ดูเหมือนว่า โครงการนี้ ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ลดปัญหาต่างๆ จากเดิม ที่แรงงานชาวบ้าน แห่ไปทำงานตามเมืองใหญ่ๆ ปัจจุบัน ชาวบ้านภายในชุมชน หันมาสนใจมากขึ้น สร้างงานสร้างเงิน ขึ้นภายในชุมชน

วันนี้แรงงานส่วนหนึ่งที่จังหวัดพะเยา หันมาทำงานเพิ่มรายได้สู่ชุมชน ชาวบ้านได้ใช้ความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์มาใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิต การผลิตถ่านเศรษฐกิจจากซังข้าวโพด ของผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา หนึ่งในลูกค้าของ ธ.ก.ส.
กฤษดา สมสะอาด ผู้ช่วยด้านพัฒนา ธ.ก.ส. สังกัด อ.ดอกคำใต้ เล่าให้ฟังถึง โครงการสินเชื่อวิสาหกิจชุมชนลูกค้าธ.ก.ส.ว่า กลุ่มลูกค้าธนาคารต้องเกิดจากการรวมตัวของเกษตรกร บุคคลในครัวเรือนของเกษตรกร ซึ่งมีการรวมตัวอย่างน้อย 5 คน รวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อประกอบธุรกิจร่วมกันซึ่งเป็นอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม โดยที่ทางธนาคารให้คำปรึกษา ส่งเสริมให้ความรู้ พัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูการประกอบอาชีพเกษตรกรที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม สร้างงานให้กับชุมชน รวมถึงการสร้างงานให้กับชาวบ้านจนประสบความสำเร็จ

ซังข้าวโพดที่อาจจะดูไร้ค่าแต่งานนี้กลับสร้างเงินสร้างราคา จากความเป็นคนช่างสังเกต ส่งผลให้เอกชัย ไชยสาร ประสบความสำเร็จมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว สร้างงานให้กับชาวบ้านในละแวกเดียวกัน แปรรูปจากของเปล่าประโยชน์มาเป็นถ่านเชื้อเพลิงสร้างเงิน เอกชัย เล่าถึงความเป็นมาก่อนที่จะประสบความสำเร็จในครั้งนี้ว่า ก่อนที่จะสำเร็จได้ต้องลองผิดลองถูกล้มลุกคลุกคลานมาหลายต่อหลายครั้ง ถึงขั้นเพื่อนบ้านมองว่าบ้า
"จากการที่ผมได้มีโอกาสไปทำงานที่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศลิเบีย ซาอุดีอาระเบีย และญี่ปุ่น ก็ได้เก็บสะสมแนวความคิดและประสบการณ์ โดยเฉพาะการไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ชมสารคดีเกี่ยวกับเรื่องการทำเชื้อเพลิงจากขยะที่เหลือทิ้งจากเครื่องบิน โดยการนำมารีดน้ำออกจากขยะและทำให้แห้งโดยการผ่านขบวนการเผาไหม้ พร้อมที่จะอัดทำเป็นแท่งใช้เป็นเชื้อเพลิง" เอกชัยย้อนถึงจุดเริ่มต้น
เจ้าของไอเดียเล่าอีกว่า ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวความคิดเอาอย่างแดนซากุระที่เจริญด้านเทคโนโลยี เนื่องจากชาวอาทิตย์อุทัยรณรงค์ให้หันมาใช้ถ่านที่ผลิตจากขยะแทนที่จะเอาไม้มาเผาเป็นถ่าน ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นก็มีป่าค่อนข้างสมบูรณ์ประเทศหนึ่ง เลยคิดว่าคนไทยเองก็น่าจะเอาแนวความคิดนี้มาใช้บ้าง ประจวบกับที่กว๊านพะเยามีผักตบชวาขึ้นเป็นจำนวนมากกำจัดอย่างไรก็ไม่หมด จึงน่าจะนำมาทำประโยชน์ได้บ้าง
จากโครงการชัยพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องของการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นถ่าน โดยการนำแกลบมาทำเชื้อเพลิง อัดผ่านความร้อนจนกลายมาเป็นก้อนถ่าน ถือได้ว่าเป็นต้นแบบและเป็นการส่งเสริมแนวความคิด ปลายปี 2539 เอกชัยบอกว่าเป็นช่วงลองผิดลองถูก ได้ทดลองประดิษฐ์เครื่องอัดแท่งถ่านแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ถ่านยังติดไฟไม่ค่อยดี
ต่อมาได้หันมาทำอย่างจริงจังกับเครื่องอัดแท่งระบบใหม่โดยคิดประดิษฐ์เอง วัสดุอุปกรณ์ที่ได้ส่วนใหญ่มาจากของเก่าซื้อมาจากร้านเชียงกง โชคดีที่ลูกชายมีความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ภายในโรงงาน และกลายมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพโรงงานแห่งนี้

ณัฐวุฒิ บุญเรียบ อาจารย์จากสถาบันวิจัยแห่งชาติ เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ให้ข้อคิด แนะนำวิธีการเกี่ยวกับเรื่องการทำก้อนเชื้อเพลิง จนได้มาปรึกษาการทำก้อนเชื้อเพลิงจากอุตสาหกรรมจังหวัด จึงเกิดแนวความคิดที่จะนำเอาซังข้าวที่เหลือจากการสีของชาวบ้านนำมาใช้ทำเชื้อเพลิง ถ่านเศรษฐกิจที่ได้จากซังข้าวโพดประกอบไปด้วยซังข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง และน้ำ นำมาผสมกันแล้วเข้าเครื่องอัดขึ้นรูป นำไปผึ่ง แล้วจึงนำไปเผา
ณัฐวุฒิอธิบายว่า ใช้เวลาในการอบซังข้าวโพด 3 วัน ถ้าซังข้าวโพดเปียกต้องใช้เวลาในการอบนานถึง 7 วัน ส่วนเชื้อเพลิงที่นำมาใช้เผาแต่ก่อนใช้แกลบ แต่มีปัญหาอยู่ที่ว่าต้องคอยเฝ้าตลอดเวลา ปัจจุบันจึงหันมาใช้ตัวซังข้าวโพดมาเป็นเชื้อเพลิงในการเผาแทนถือว่าดีกว่า หาง่ายกว่า ไม่ต้องมาคอยเฝ้าเหมือนแต่ก่อน
"ช่วงแรกๆ ลูกค้าบ่นว่าทำไมมีเถ้าเยอะ ถ่านไม่ค่อยติดไฟ แต่พักหลังเริ่มรู้ว่าปัญหาเกิดจากการปิดรูระหว่างการเผาไม่สนิททำให้ถ่านมีเถ้ามาก เมื่อมาอัดรวมกันทำให้คุณภาพของถ่านที่ได้ไม่ดี แต่ปัจจุบันได้เรียนรู้และเกิดการพัฒนาด้านคุณภาพให้ดีขึ้น" พัฒนาการของณัฐวุฒิ
ณัฐวุฒิเสริมอีกว่า กระบวนการผลิตทั้งหมดจะใช้เวลา 1 อาทิตย์ อัตราการซื้อขายอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 8 บาท พอๆกันกับราคาของถ่านไม้ แต่ว่าต่างกันในด้านของคุณสมบัติ ทั้งประโยชน์การใช้สอยก็ดีกว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมที่มาเป็นอันดับ 1 ธุรกิจหมูกระทะจึงนิยมใช้เพราะคุณสมบัติจากไร้ควัน มีความร้อนที่สม่ำเสมอ และประสิทธิภาพดีกว่า
นอกจากการผลิตถ่านจากซังข้าวโพด ยังมีผลพลอยได้อีกอย่างจากการทำถ่านซังข้าวโพด นั่นคือจากการเผาแล้วจะมีน้ำระเหยออกมา มีลักษณะสีดำเรียกว่า น้ำคาร์บอน จากการสังเกตของเอกชัย พบว่าเมื่อน้ำชนิดนี้หยดลงต้นหญ้าหญ้าจะตายหมดภายใน 15 นาที จึงสามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าหญ้าได้แต่ทั้งนี้ยังต้องรอผู้มาศึกษาวิจัยอย่างจริงจังเพื่อศึกษาและให้ความรู้กับชาวบ้านอย่างถูกต้องและแน่นอน
ส่วนทางด้านกำลังการผลิตนั้น เตาเผาที่มีอยู่ในปัจจุบันมีจำนวน 5 เตาซึ่งไม่เพียงพอ เครื่องบดอีก 1 เครื่อง เครื่องอัดแท่ง 1 เครื่อง
เอกชัยให้ข้อมูลว่า เตาเผา 1 เตา กำลังการผลิตเมื่อเปรียบเทียบเป็นอาทิตย์จะได้ 2.5 - 3 ตัน หรือประมาณ 10-12 ตันต่อเดือน ซึ่งถือว่ากำลังการผลิตยังค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า ส่วนการตลาดเดิมทีแล้วทำส่งแม่ค้าพ่อค้าภายในตลาด อ.เมืองพะเยา และจังหวัดเชียงใหม่ ในอนาคตคาดว่าจะขยายตลาดพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า

"ตอนแรก ชาวบ้านมองว่าผมบ้า มีเงินกลับจากทำงานที่ต่างประเทศเป็นล้าน ไม่ยอมเอาเงินไปลงทุนทำอย่างอื่นที่เงินดีกำไรดีกว่าการทำถ่าน ครั้งหนึ่งถึงขั้นทะเลาะกับภรรยาอย่างรุนแรง แต่เพราะความชอบและอยากที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตั้งเอาไว้ให้สำเร็จ ถึงแม้จะล้มมาแล้วหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวที่ได้รับมากลับเป็นบทเรียนราคาแพง ที่ทำให้เราต้องพัฒนา" ความคิดของเอกชัย

ถึงวันนี้ ความสำเร็จได้เกิดขึ้นจริงด้วยน้ำพักน้ำแรงที่มีความขยันมานะไม่ยอมท้อถอยต่ออุปสรรคต่างๆ จากความช่างสังเกต มองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เอามาดัดแปลงพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความคิดที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้ซังข้าวโพดที่แสนจะไร้ค่ากลายมาเป็นก้อนถ่านเศรษฐกิจที่สร้างเงินและสร้างงานขึ้นภายในชุมชน


ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (จุดประกาย) วันที่ 17 กรกฎาคม 2545

 




WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com