เรื่อง การทำแท่งเชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
นามผู้วิจัย
นางสาวพัชฎาภรณ์ เจริญรอย
นางสาวอรชุมา นุสีวอ
คณะกรรมการที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ
อาจารย์อภิพงษ์ พุฒคำ ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ
อาจารย์วีระวุฒิ อรุณวรรธนะ ที่ปรึกษาร่วมปัญหาพิเศษ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำแท่งเชื้อเพลิงจากฟางข้าวและแกลบ โดยใช้ผักตบชวาเป็นตัวเชื่อมประสานพร้อมทั้งศึกษาหาค่าความร้อน อัตราการให้ค่าความร้อน และก๊าซเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ของแท่งเชื้อเพลิง ในการศึกษาได้นำวัสดุเหลือใช้มาอัดให้เป็นแท่งด้วยวิธีการอัดแบบเปียกโดยใช้เครื่องอัดไฮโดรลิกและแม่แรงอย่างง่ายในอัตราส่วน 1:1 1:3 และ 1:4 โดยน้ำหนัก
จากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนฟางข้าว: ผักตบชวา และแกลบ: ผักตบชวา ในอัตราส่วน 1:3 โดยน้ำหนักทำให้แท่งเชื้อเพลิงอยู่ตัวไม่แตกเปราะสามารถยึดเกาะได้ดีและให้ค่าความร้อน 3,956 kcal/kg และ 2,358 kcal/kg ตามลำดับ อัตราส่วนของฟางข้าว: ผักตบชวา ที่อัตราส่วน 1:1 1:3 และ 1:4 ใช้เวลาต้มน้ำจนเดือดที่ 7, 8 และ 8 นาที ตามลำดับ แกลบ: ผักตบชวา ในทุกอัตราส่วนใช้เวลาต้มน้ำจนเดือดที่ 7 นาทีเท่ากัน ปริมาณก๊าสที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของแท่งเชื้อเพลิงจากฟางข้าวและแกลบ มีปริมาณ CO 2 2.27% CO 0.37% SO 2 0.00% และ CO 2 1.82% CO 0.38% SO 2 0.0013% ตามลำดับ เมื่อนำค่าของปริมาณก๊าซมาเทียบกับค่ามาตรฐานสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานเผาขยะมูลฝอยของกระทรวงอุตสาหกรรมพบว่าปริมาณก๊าซ CO ที่เกิดขึ้นในทุกอัตราส่วนเกินค่ามาตรฐาน
คำสำคัญ : เชื้อเพลิง/ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร/ ก๊าซมลพิษ |