รูปแบบลักษณะของเตาเผาถ่าน
:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::



1.เตาดินเหนียวซึ่งการลงทุนก่อสร้างต่ำมากหรือไม่มีค่าวัสดุอุปกรณ์เลยก็ว่าได้ การก่อสร้างก็ใช้ดินเหนียวก่อ ซึ่งดินเหนียวหาได้ตามพื้นที่ต่างๆได้ตลอด คุณภาพถ่านที่ได้ก็ถือว่าคุณภาพดี แต่การสูญเสียจะมากกว่าเตาแบบอื่น


ลักษณะของเตาดินเหนียวก่อ

2.เตาอิฐก่อ ซึ่งส่วนมากก่อสร้างเตาลักษณะนี้เพื่องานอุตสาหกรรม เป็นส่วนมากเนื่องจากว่า ผลิตถ่านได้ออกมาต่อการเปิดเตา 1 ครั้งได้จำนวน ถ่านมากกว่าเตาดินธรรมดา
การลงทุนก่อสร้าง จะสูงกว่าเตาดินเหนียวเนื่องจากว่าต้องใช้อิฐก่อเป็นรูปเตา หลังจากนั้นก็ต้องใช้ดินเหนียวเป็นตัวประสารก้อนอิฐให้ติดกันเป็นรูปทรงของ เตา การก่อสร้างเตาอิฐก่อไม่ใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจากว่าสำประสิทธิ์การขยาย ตัวของอิฐกับปูนไม่เท่ากันเมื่อเตาร้อน จะทำให้เตาเผาถ่านแตกหรือว่าร้าวได้ ถ้าหากว่าเราใช้ดินเหนียวแทนปูนการขยายตัวก็จะน้อย รอยร้าว ร้อยแตกของเตาก็จะน้อย อายุการใช้งานของเตาก็นานด้วย


ลักษณะของเตาอิฐก่อ

3.เตาอิวาเตะ ซี่งรูปแบบเตาลักษณะนี้นำต้นแบบมาจากประเทศญี่ปุ่น เพราะว่าประเทศญี่ปุ่นเนี่ยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีของการผลิตถ่านเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเตารูปทรงนี้เป็นรูปแบบที่พัฒนาจากเตาดิน และเตาอิฐ ให้ผลผลิตถ่าน ออกมาได้คุณภาพดี ผลผลิตถ่านได้ปริมาณมาก ได้น้ำส้มควันไม้ออกมาเยอะ
แต่การลงทุนก่อสร้างจะสูงกว่าเตาดินและเตาอิฐก่อ เนื่องจากว่าอิฐที่ใช้ก่อมีปริมาณ มากกว่า และการก่อสร้างยุ่งยากมาก ซึ่งต้องให้ผู้มีความรู้หรือว่า มีความเชีี่ยวชาญในการก่อสร้างเป็นคนทำ เตาที่สร้างได้ถึงจะมีคุณภาพดี

ในงานเผาถ่านภาคอุตสาหกรรม ถ้าใช้เตาลักษณะนี้จะเป็นการการันตี คุณภาพด้วยว่าใช้เทคโนโลยีจากเจ้าตำหรับทำถ่านจากญี่ปุ่น เป็นการยืนยันคุณภาพของถ่านด้วยว่า คุณภาพดีชัวส์


ลักษณะของเตาอิวาเตะ
4.เตาเผาไฮเทค ของคุณ ณรงค์ นะครับ ยังไม่มีการวิจารณ์หรือว่าการันตีเรื่อง คุณภาพของถ่านนะครับ แต่พอทราบข้อมูลว่าใช้เวลาการเผาถ่านสั้นมากแค่ 1.5 ชั่วโมงก็ได้ถ่านออกมาใช้แล้ว น่าสนใจดีเหมือนกันครับ

เตาเหล็กใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเชื้อเพลิง
5.เตาเผาถ่านของบริษัทอุสา ก็ยังไม่มีบทวิจารณ์เกี่ยวกับเตานี้เหมือนกันกับของ คุณ ณรงค์นะครับ แต่เห็นบอกว่าระยะเวลาในการเผาถ่านเพียง 36 ชั่วโมง เตาหนึ่งก็ได้ถ่านประมาณ 7-10 กระสอบ ถ้าใครสนใจก็ติดต่อได้ที่บริษัท อุสาแล้วกันนะครับ

เตาเผาถ่านของบริษัทอุสา
6.เตาเผาถ่านรุ่นใหม่ ของคุณ ศิริรัตน์ ครับ
รุ่น MES-20
1. ระบบสามารถผลิตถ่านออกมาให้ได้ขนาดเล็กไม่ต้องนำมาบดก่อนที่จะทำ ถ่านอัดแท่ง
2. เครื่องใช้เวลาเพียง 45 นาที ในการทำวัตถุดิบให้เป็นถ่าน
3. ตัวเครื่องมีการติดตั้งตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ 500+-(50) เมื่อเครื่องทำงาน ไปไ ด้ 1 ช.ม. โดยประมาณอุณหภูมิในเตาเผาจะถึง 550 เครื่องจะหยุดทำงาน จนกว่าอุณหภูมิจะลดลงมาที่ 450 ซึ่งใช้เวลา ประมาณ ? นาที เครื่องจะเริ่มทำงาน อีกครั้งเพื่อเพิ่มอุณหภูมิในเตา เมื่อผ่านไป 1 นาที อุณหภูมิในเตาจะกลับมาที่ 550 อีกครั้ง เครื่องจะหยุด เป็นอย่างนี้ไปตลอดการทำงานทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้า และเชื้อเพลิงได้ประมาณ 30%

4. เครื่องออกแบบให้สามารถเก็บควันจากการเผาไหม้มาควบแน่นเป็นน้ำส้มควันไม้ ได้ประมาณ 5-8 % ของวัตถุดิบซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นที่ต้องการ ของท้องตลาด ถ้านำออกขายจะได้ราคาที่ประมาณกิโลละ 80-120 บาท
5. ควันที่เหลือจากการควบแน่นส่วนหนึ่งระบบจะนำกลับมาเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ ทำให้ไม่ต้อง ใช้เชื้อเพลิง ในการเผาไหม้ ต่อ(ใช้เชื้อเพลิงตอนเริ่มทำงานเท่านั้นพอผ่านไป 1 ช.ม.ไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงแล้วหรือเติมในปริมาณ ที่น้อยลง ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาเผา) หรือนำไปเป็น เชื้อเพลิงสำหรับต้นกำเนิดพลังงานชนิดอื่น
6. ควันที่เหลือทิ้งมีเพียงเล็กน้อยไม่เป็นมลภาวะต่ออากาศ
7. ถ่านที่ได้จะมีคุณภาพดีสม่ำเสมอเพราะสามารถตั้งอุณหภูมิของเตาให้อุณหภูมิของเตา ทั่วทุกจุด มีอุณหภูมิเท่าเทียมกัน กะลามะพร้าว 1 ตัน จะให้ผลผลิตดังนี้ ถ่าน 250 กิโล น้ำส้มควันไม้ 50 KG. ซึ่งเป็นกรดน้ำส้มที่มีประโยชน์หลายอย่าง อย่าง ราคาขายในท้องตลาดอยู่ที่ 70-120 บาท / กิโล ยางมะตอย 50 KG.
เครื่องมีหลายขนาดให้เลือกตั้งแต่ กำลังการผลิต 20-1000 ก.ก. /ช.ม.


เตาเผาถ่านรุ่นใหม่ครับ


ก็อย่างที่เล่าให้ฟังแล้วกันนะครับว่า เตาแต่ละเตาเนี่ยเราจะใช้งานอย่างไร เลือกใช้ตามความเหมาะสมแล้วกันนะครับ เพราะว่าบางแห่ง บางพื้นที่ หรือว่าบางผู้ผลิตเนี่ย ใช้ไม่เหมือนกัน อาจเป็นเพราะว่าต้นทุนการผลิต คนงานที่ก่อสร้างเตา พื้นฐานความรู้ความเข้าใจการเผาถ่านหรือว่า ก่อสร้างเตาที่ไม่เหมือนกันทำให้ ผู้ผลิตแต่ละคนใช้ไม่เหมือนกัน แต่จะใช้เตาแบบไหนก็นะ ผลิตถ่านออกมาได้เหมือนกันใช่มั้ยครับ (ฮะ ๆ) (เป้)



WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com