การศึกษาวิจัยพลังงานเชื้อเพลิงจากเปลือกทุเรียน ในรูปของเชื้อเพลิงอัดแท่ง

:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::



การศึกษาวิจัยพลังงานเชื้อเพลิงจากเปลือกทุเรียน ในรูปของเชื้อเพลิงอัดแท่ง

การศึกษาวิจัยพลังงานเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเปลือกทุเรียน เป็นการศึกษาทดลองการอัดแท่งเชื้อเพลิงทั้งแบบชนิดอัดร้อน (Hot Press Process)และอัดเย็น (Cold Press Process) ของเปลือกทุเรียนที่มีปริมาณมากจากสองสายพันธุ์ คือ พันธุ์ชะนีและพันธุ์หมอนทอง การศึกษาโดยการนำเปลือกทุเรียนที่เหลือทิ้ง มาสับด้วยเครื่องหั่นย่อยซากพืชให้มีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร นำไปตากแดดให้มีความชื้นพอเหมาะต่อการอัดแท่งทั้งสองแบบ แล้วนำไปอัดแท่งเชื้อเพลิงทั้งชนิดแบบอัดร้อนและอัดเย็น นำแท่งเชื้อเพลิงแข็งดังกล่าวมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง โดยการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมี (Chemical Component Analysis) รวมทั้งค่าความร้อน (Heating Value) ทดสอบความหนาแน่นของแท่งเชื้อเพลิง (Density) หาค่าความสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในระหว่างการอัด (Energy Consumption) หาค่าพลังงานดุลต่อชั่วโมง (Hour Energy Balance) และหาประสิทธิภาพการใช้งานของความร้อน (Heat Utilization Efficiency) ผลการวิเคราะห์หาค่าองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกทุเรียนจากการอัดแท่งทั้งชนิดอัดร้อนและอัดเย็นของทุเรียนทั้งสองสายพันธุ์ ปรากฏว่าจะมีปริมาณขี้เถ้า (Ash Content) และสารละเหย (Volatile Matters) ใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 5.5 – 8.0 และ 72.4 – 81.1 ตามลำดับ สำหรับค่าคาร์บอนเสถียร (Fixed Carbon) ของเชื้อเพลิงอัดแท่งแบบอัดร้อน มีค่าเท่ากับร้อยละ 10.2 และ 7.2 สำหรับเปลือกทุเรียนของสายพันธุ์ชะนีและหมอนทองตามลำดับ ซึ่งจะสูงกว่าค่าคาร์บอนเสถียรของการอัดเย็นที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ร้อยละ 4.3 – 7.6 ในด้านค่าความร้อนของเปลือกทุเรียนอัดแท่งทั้งแบบอัดร้อนและอัดเย็น อยู่ระหว่าง 3,609 - 3,844 แคลอรี/กรัม โดยแท่งเชื้อเพลิงแบบอัดร้อนจะให้ค่าความร้อนสูงกว่าแบบอัดเย็นเล็กน้อย ค่าความหนาแน่นของเปลือกทุเรียนอัดแท่งแบบอัดร้อนจะมีค่า 2.9 และ 3.2 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับทุเรียนพันธุ์ชะนีและพันธุ์หมอนทอง ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าแท่งเชื้อเพลิงแบบอัดเย็นที่มีค่าระหว่าง 1.6 ถึง 2.8 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ทั้งนี้ ในการทดสอบความหนาแน่นของเปลือกทุเรียนอัดแท่งโดยการหาค่าการทนแรงอัด (Compressive Strength) นั้น ผลปรากฏว่า เปลือกทุเรียนอัดแท่งแบบอัดร้อนพันธุ์หมอนทอง มีค่าทนแรงอัดสูงที่สุด คือ เท่ากับ 60.2 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ส่วนแบบอัดเย็นทั้งสองสายพันธุ์มีค่าการทนแรงอัดต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.5 – 12.2 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ค่าการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าที่ใช้พบว่าการอัดร้อนจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าสูง คือมีค่าระหว่าง 0.440 – 0.456 กิโลวัตต์/กิโลกรัม ในขณะที่การอัดเย็นจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเพียง 0.050 ถึง 0.069 กิโลวัตต์/กิโลกรัม ของทั้งสองสายพันธุ์ สำหรับการหาพลังงานดุลย์ต่อชั่วโมง หรือพลังงานจากเชื้อเพลิงอัดแท่งของการอัดทั้งสองแบบปรากฏว่า วิธีการอัดแบบอัดร้อนจะให้พลังงานจากเชื้อเพลิงอัดแท่งมากกว่าการอัดแบบอัดเย็นถึง 3 เท่า ส่วนผลการทดสอบหาประสิทธิภาพการใช้งานของความร้อน จะพบว่าเปลือกทุเรียนอัดแท่งแบบอัดร้อนของพันธุ์หมอนทองจะให้ค่าประสิทธภาพการใช้งานของความร้อนสูงที่สุดถึงร้อยละ 27.7 ผลจากการศึกษาคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงและค่าความร้อน รวมทั้งประสิทธิภาพการใช้งานของความร้อนของเปลือกทุเรียนอัดแท่งดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับฟืนและถ่านไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส แล้ว ปรากฏว่าเปลือกทุเรียนอัดแท่งมีคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงใกล้เคียงกับฟืนและถ่าน ส่วนค่าความร้อนจะต่ำกว่าถ่านประมาณ 1 เท่า สำหรับประสิทธิภาพการใช้งานของความร้อน พบว่า เชื้อเพลิงอัดแท่งจากเปลือกทุเรียนทั้งแบบอัดร้อนและอัดเย็นมีค่าใกล้เคียงทั้งฟืนและถ่านไม้ ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า จากการนำเปลือกทุเรียนทั้งสองสายพันธุ์ ซึ่งมีปริมาณผลผลิตรวมกันกว่าร้อยละ 80 ของทุเรียนทั้งหมด มาอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิงแล้วได้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพดีและไม่แตกต่างกัน นั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า โดยทั่วไปเปลือกทุเรียนจะสามารถนำมาผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลิงเพื่อใช้เป็นพลังงานความร้อนในครัวเรือนแทนฟืนและถ่านจากไม้ได้




WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com