เตาเผาถ่านประยุกต์ ภูมิปัญญาเกษตรกรไทย
:: ::
 
:: ติดต่อเรา::

Fax: 02-6735670

(Webmaster)
ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์
คุณ พรสถิตย์ 081-5510046

ฝ่ายการตลาด
คุณ อาณุภาพ 081-4466153


:: ส่งเมลล์หาเพื่อน

:: เผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน
:: แท่งเชื้อเพลิงจากแกลบ
:: แท่งเชื้อเพลิงเขียว
:: ถ่านไม้ไผ่เพื่อสุขภาพ
:: ถ่านอัดแท่งผสมสารเคม
:: ------ ::

:: รูปเตาเผาถ่านในปัจจุบัน
:: รูปแบบลักษณะเตาเผาถ่าน
:: ความรู้พื้นฐานการเผาถ่าน
:: เผาถ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
:: เผาถ่านสหกรณ์ขอนแก่น
:: เผาถ่านสวนป่าสมเด็จ
:: เผาถ่านไม้โกงกาง
:: ------ ::

:: ปลูกไม้ยูคาก่อนเผาเป็นถ่าน
:: ถ่านจากสวนป่าไม้ยูคา
:: การใ้ช้ประโยชน์จากถ่าน
:: น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากถ่าน
:: ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม
:: ------ ::

:: เปรียบเทียบวิธีการผลิตถ่าน
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกยาง
:: วิเคราะห์ถ่านเปลือกทุเรียน
:: ค่าความร้อนถ่านชีวภาพ
:: ผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลา
:: แท่งถ่านจากวัสดุเหลือใช้
:: ผลกระทบถ่านหินอัดก้อน
:: ------ ::

:: มาตรฐานถ่านอัดแท่ง
:: มาตรฐานถ่านดูดกลิ่น
:: มาตรฐานถ่านไม้หุงต้ม
:: มาตรฐานถ่านไม้ปิ้งย่าง
:: มาตรฐานถ่านโค้กอัดก้อน
:: ------ ::

:: ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
:: ถ่านอัดแท่งเปลือกทุเรียน
:: ถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ถ่านอัดแท่งจากลิกไนต
:: ------ ::

:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากกะลา
:: ผลิตถ่านอัดแท่งจากแกลบ
:: ผลิตถ่านไม้ด้วยเตาอิวาเตะ
:: ผลิตถ่านไม้นครศรีธรรมราช
:: ------ ::

:: เครื่องอัดถ่านที่ใช้ปัจจุบัน
:: เครื่องอัดถ่านรุ่นใหม
:: ------ ::

:: การส่งออกถ่านไม
:: การส่งออกถ่านอัดแท่ง
:: ------ ::

:: เครือข่ายด้านพลังงาน
:: คลีนิคเทคโนโลย
:: โครงการในพระราชดำรี
:: วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
:: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
:: ------ ::

:: ก้าวทันโลก ::
:: ราคาน้ำมันหน้าปั้มวันนี้
:: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
:: พยากรณ์อากาศวันนี้
:: สภาพการจราจรล่าสุด
:: ข่าวสารจราจร สวพ. 91
:: มองเศรษกิจไทย
:: ราคาสินค้าการเกษตร
:: สมุดหน้าเหลือง
:: ------ ::

:: ไทยรัฐ
:: The Nation
:: เดลินิวส
:: สยามรัฐ
:: มติชน
:: ข่าวสด
:: คมชัดลึก
:: ฐานเศรษฐกิจ
:: ประชาชาติธุรกิจ
:: กรุงเทพธุรกิจ
:: อ.ส.ม.ท
:: ผู้จัดการ

:: พันธมิตรของเรา ::
:: Thai Market Place
:: Thai Food Corner
:: Siam Matket
:: ------ ::



เตาเผาถ่านประยุกต์ ภูมิปัญญาเกษตรกรไทย

การเผาถ่านของแต่ละท้องที่จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ละท้องถิ่นจะคิดค้นกันเอง และเตาถ่านประยุกต์ คิดค้นด้วยภูมิปัญญาของวัสดุที่ใช้ก็มีในท้องถิ่นอยู่แล้ว
เตาถ่านประยุกต์ วัสดุที่ใช้

1. อิฐมอญ 4,000 ก้อน
2. ดินเหนียว 1 ลูกบาศก์เมตร
3. เถ้าแกลบหรือทรายหยาบ 2 ลูกบาศก์เมตร
4. ถังน้ำมัน 200 ลิตร 4 ลูก
5. เหล็กฉาก ขนาด 0.5-1 นิ้ว 8 เมตร

ขั้นตอนการก่อสร้าง
1. การขุดดิน ขุดให้กว้าง 2x2 เมตร ลึก 0.5 เมตร นำดินเหนียวแช่น้ำและนวดให้เหนียวเหลว นำทรายหยาบมาผสม 1 ต่อ 1 และนวดผสมให้ทั่วกันนำก้อนอิฐมาก่อโดยใช้ดินผสมทรายนี้เป็นตัวผสานก่ออิฐขึ้น ตั้งแต่ก้นบ่อโดยเรียงอิฐสลับขวาง และยาวทับกัน ให้ชิดขอบบ่อ ก่อไปเรื่อย ๆ แต่เว้นด้านใดด้านหนึ่งที่จะทำประตูเตา โดยเว้นช่วงกึ่งกลางให้กว้าง 70 ซ.ม. จนได้สูง 120 ซ.ม. เมื่อถึงขอบบนแล้วให้เรียงอิฐเฉพาะแผ่นนอกวางตามยาวให้เป็นขอบจนรอบเตา ก็จะได้ขอบบนเป็นบ่า ซึ่งจะใช้รับฝาต่อไป ก่อเรียบร้อยแล้วก็ฉายด้วยดินสูตรเดียวกัน

2. การทำฝานำเหล็กฉาก นำเหล็กมาตัด 185 x 185 ซ.ม. แล้วนำมาเชื่อมเป็นกรอบสี่เหลี่ยมและนำไปลองครอบเตาดูว่าลงบ่าได้สนิทแล้ว ก็เริ่มทำการบุฝา โดยใช้ถังน้ำมันมาเปิดฝาบนและล้างออก และนำฝาเป็นแผ่น ๆ มากางออกให้เป็นรูปโค้งแบบประทุนเรือ และเชื่อมรอยต่อให้แข็งแรงและเจาะรู ขนาด 3.5 นิ้ว ด้านที่อยู่ตรงประตูเตา เพื่อทำปล่องเร่ง

3. การทำประตูเตา ใช้แผ่นเหล็กที่ผ่าจากน้ำมันเดียวกันนำมาตัด ขนาด 1.20 x 0.80 ซ.ม. 2 แผ่น นำมาเจาะรู ขนาด 4 ม.ม. ตามเส้นทแยงมุม โดยห่างจากมุมด้านละ 20 ซ.ม. นำมาประกอบผนังเตาด้านในและด้านนอก และใช้ลวดเย็บให้ประกบผนังเตา เมื่อเผาถ่านให้นำดินฝุ่นกรอกให้เต็มช่องว่างระหว่างเหล็กทั้งสองแผ่นนี้ ประตูเผาก็จะสนิทแทบไม่มีควันออก การทำปล่องระบายควัน โดยเจาะหลุมภายนอกห่างผนัง 30 ซ.ม. ให้อยู่กึ่งกลางจากมุมทั้งสองเท่า ๆ กัน ปล่องกว้าง 10 ซ.ม. ทำปล่องด้านข้าง 2 ข้าง ด้านละ 1 ปล่อง ส่วนด้านประตูทำ 2 ปล่อง ห่างจากมุมด้านนอกปล่องละ 50 ซ.ม.

4. การทำช่องจุดไฟ ขุดร่องด้านตรงข้ามกับประตูเตา ห่างจากผนังเตา 40 ซ.ม. กว้าง 1 เมตร ยาว 1.2 เมตร ลึก 80 ซ.ม. และขุดเป็นร่องเล็ก ๆ เข้าหา กลางเตากว้าง 30 x 30 ซ.ม. เมื่อถึงกลางเตาแล้วเจาะให้โผล่กลางเตากว้างยาวเท่ากัน และเจาะตรงผนังเตาด้านในลงมาหาช่องอีกหนึ่งช่อง โดยกว้าง 20 x 30 ซ.ม.

5. การทำลิ้นบังคับไฟ นำเหล็กขนาด 12 ม.ม. ยาว 90 ซ.ม. 1 เส้น แผ่นเหล็กหนา 3 ม.ม. กว้าง 14 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว มาเชื่อมติดปลายเหล็กเส้นและเจาะรูเหนือช่องใส่ให้เหล็กเส้นลอดมาโผล่ด้านนอกตรงที่ใส่ไฟ สำหรับเป็นตัวบังคับไฟ

6. วิธีการเผา พื้นล่างสุดเรียงฟืนตามนอนก่อน 1 ชั้น ส่วนตรงช่องไฟให้ใช้ตะแกรงเหล็กครอบตัวแผ่นบังคับไฟไว้ไม่ให้ฟืนทับ เพื่อความสะดวกในการบังคับไฟ สองชั้นต่อมาเรียงฟืนตามแนวตั้งให้แน่นจนเต็มเสมอกับขอบเตาบน ส่วนชั้นบนเรียงฟืนตามนอนตามลักษณะฝาครอบ ให้เต็มพอฝาครอบได้เมื่อเรียงฟืนเต็มแล้ว นำฝามาครอบและยาด้วยดินผสมแกลบหรือทรายให้สนิทหน้าเตาก็ใช้แผ่นเหล็กทั้ง 2 ที่เตรียมไว้ ประกบกับผนังเตาและยึดทั้งสองแผ่นให้แน่นตรงช่องว่างระหว่างกลางก็เทดินฝุ่นให้เต็มและยาตะเข็บนอกด้วยดินผสมอีกครั้งหนึ่ง

7. การจุดไฟ ให้นำฟืนแห้ง เศษกิ่งไม้ใส่ช่องใต้เตาและจุดไฟ พร้อมกับดันแผ่นบังคับให้เปิดรูกลางเพื่อให้ไฟติดตรงด้านหน้าเตาก่อน พร้อมเปิดเร่งเมื่อเห็นไฟติดแรงดีแล้วประมาณ 4-5 ซ.ม. ก็ให้ดึงแผ่นบังคับไฟให้เปิดช่องไฟข้างหน้าเพื่อให้ไฟติดกลางเตาต่อไป ระยะนี้ต้องคอยใส่ไฟตลอดเวลาและเผาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะใช้ได้ การเปิดเตาให้แกะดินที่ยาขอบฝาและประตูเตาออกและยกฝาขึ้นพร้อมเปิดประตูเตาก็จะเอาถ่านออกได้โดยสะดวก

 

เป้ อัปเดท 14-05-2550



WWW.Charcoal.SNMCENTER.COM
ติดต่อฝ่ายการตลาด คุณ อาณุภาพ(จั๊ม) Tel:081-4466153 Fax:02-6735670 Mail: anupapu@thaisumi.com
ติดต่อ ฝ่ายผลิตและบรรจุภัณฑ์ คุณ พรสถิตย์ (เป้) Tel: 081-5510046 Mail : pronsatit@thaisumi.com